![]() |
ที่มา และที่ไปของหมายเลขข้างรถ
พี่น้องชาว รทท. ที่รักทุกท่านครับ
ผมมีความสงสัยเรื่องหมายเลขข้างรถ(หมายเลขบอกเส้นทาง )ที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่า ทาง บขส.ใช้หลักเกณฑ์อะไรกำหนดหมายเลขเส้นทางรถสายต่างๆ ท่านใดมีความรู้เรื่องนี้ โปรดให้ความอนุเคราะห์ด้วยจักเป็นพระคุณยิ่ง |
สงสัยเช่นกันค่ะรอผู้กล้ามาตั้งคำถามในที่สุดประธานฝ ่ายก็เป็นแรก..อิอิ..ใครรู้ช่วยบอกหน่อยเน้อ
|
ช่ายๆสงสัยเหมือนกันครับเอาอะไรเป็นเกณฑ์ในการใส่เบอ ร์ข้างรถอ่ะตัวอย่างเช่นบริษัทขนส่งจำกัดสาย100เบอร์1
กับบริษัทวินทัวร์จำกัดสาย100เบอร์1..นั่น!!..มันยังซ้ำกันได้เ้นอะ((เลยโทรถามเสธเค้าว่ าคนละบริษัทซ้ำกันได้))แต่ก็ยังไม่แน่ใจเพราะที่ว่าม ามันก็2ชั้นทั้งคู่ เห่อๆ ใครทราบช่วยบอกหน่อยครับ:Emo-korea_060: |
โดยปกติ ทาง บขส. เขาจะทำหมวดหมู่เลขข้างรถ ออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ ๑ เป็นรถของ บขส. โดยตรง กลุ่มที่ ๒ เป็นรถของรถร่วมบริการ กลุ่มของ บขส. เขาสามารถจัดเบอร์อะไรลงก็ได้ ตามที่มีระบุในบัญชีหมายเลขรถและยังใช้งานได้ หากปลดระวาง ก็จัดรถเข้าบรรจุแทน โดยไม่ได้กำหนดว่าเส้นทาง เขาจะรันไปเรื่อยๆ กลุ่มของรถร่วม จะกำหนดเลยหมาย ตามที่ประกาศจัดสรรให้แต่ละเส้นทาง โดยเริ่มหมายเลข ๑ จากทุกเส้นทาง ทุกมาตรฐาน ดังนั้นจะเห็นซ้ำกันในเส้นทาง แต่ไม่ซ้ำมาตรฐาน อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ อาจจะไม่ถูกต้อง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ อย่างไรต้องรอกูรูมาตอบอีกครั้ง |
น้าต้อมหมายถึง หมายเลขเส้นทางอ่ะครับ
เช่น 1 กรุงเทพ-เชียงใหม่ 3 กรุงเทพ-เชียงแสน ประมาณนี้อ่ะครับ ^^ |
วันนั้นคุยกันถึงตีหนึ่งยังหาข้อสรุปไม่ได้ครับ ยังไงก็รอคำตอบครับ:) :)
|
อ้างถึง:
เข้าใจผิดแล้วครับตี๋เล็กที่บอกเบอร์รถอ่ะซ้ำกันได้แ ต่ต้องคนละมาตรฐานอย่างม.4คสาย100จะมีแค่สองบริษัท(จากเดิมมีแค่บริษัทเดียว)คือวินทัวร์กับบขส.ซึ่งบขส.นั้นม.4คจะใช้เลข100-xxxxซึ่งเป็นเลข4ตัวไม่ใช่ตัวเดียวเหมือนวินทัวร์แน่นอนค รับ....บขส.ม.4คสาย100มาใหม่สองคันครับคือ100-1719กับ100-xxxxครับไม่มี100-1แน่นอน ส่วนหมายเลขสายรถนั้นรอฟังจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ค รับ |
อ้างถึง:
|
นั้นนะซิ บขส เขามีหลักเกณฑ์อย่างไรกันแน่ แต่เท่าที่สังเกต เฉพาะกับสาย 1-100 เขาจะไล่เส้นทางภาคเหนือภาคกลางก่อน แล้วมาเริ่มสายอีสาน ที่ 20 พอหมดสายอีสานก็ไปตะวันออก ตามด้วยจังหวัดรอบๆกทม ทั้งทิศตะวันออกและตะวันตก หลังจากนั้นจะเริ่มไล่ลงไปทางใต้ แต่ก็มั่วกันอยู่ดีช่วงปลายๆ เพราะสาย 100 เป็นทางภาคเหนือ พอหมด 1-100 รถหมวด2 จะเริ่มใหม่โดยมีเลข 9 นำหน้า โดยเริ่มต้นด้วยเส้นทางภาคกลาง แต่ก็มั่วในที่สุด ทั้งสายตะวันออกและเหนือ แล้วค่อยไปเริ่มเรียงที่สายอีสานอีกที หลังจากหมดสายอีสานก็จะกลับมามั่วอีกที 949 950 951
พอหมดเส้นทาง 3 หลัก ก็จะมี 9 มาเพิ่มอีกเป็นเส้นทางที่มี 4 หลัก นับจากนี้ผมเข้าใจว่าเขาไล่ตามลำดับ ตามเส้นทางที่ขอเปิดใหม่ ไม่ได้ขึ้นกับภูมิภาค ส่วนหมายเลขในแต่ละมาตรฐาน โดยส่วยใหญ่จะแยกกันรัน ยกเว้น ม.1ข ม.1พ จะรันผสมกันไป พักหลังมีแต่รถ ม.4 ออกมาวิ่ง ซึ่งจะรันแยกกันไปในแต่ละมาตรฐาน ยกเว้นสาย 14 จะยังหลงเหลือ รถสองชั้นรุ่นคุณปู่ ใช้เบอร์ร่วมกับรถ ม.1ข อยู่ แต่พักหลังผมเริ่มสงสัยอีกแล้วว่า ทำไมมีกันรันเบอร์รถคนละมาตรฐานต่อเนื่องกัน คือรถ ม.4พ 20-50 - 20-53 ของสมบัติที่ไปใช้เบอร์ต่อกับ ม.4ข งง ครับเพราะจังหวัดอื่นๆแยกกันรันหมด อีกย่างที่ผมสงสัยครับ คือรถมาตรฐานผสม เขาจะหลักเกณฑ์รันเลขรถตามมาตรฐานไหนกันแน่ เช่น สมมติว่า มีรถผสม ม.4ก-ข เบอร์รถคันนี้จะมีหลักเกณฑ์ไปรันกับเบอร์มาตรฐานอะไร โดยในปัจจุบันเท่าที่เห็น ไม่ว่ามาตรฐาน ข จะไปผสมกับมาตรฐานอะไร รถคันนั้นจะไปใช้เบอร์ มาตรฐาน ข ทั้งหมด แค่สงสัย ครับ ส่วนกันรันหมายเลขรถของ บขส เขาจะรันเบอร์ของเขาเอง ไม่เกี่ยวกับรถเอกชนเลย และการรันก็ไม่ได้เรียงตามสายหรือมาตรฐานรถ แต่อย่างใด รถทุกคันของ บขส จะมีหมายเลขประจำคันอยู่แล้ว ปกติรถมาตรฐานเดียวกันจะมีการรันต่อเนื่องกัน ขึ้นอยู่ว่าจะนำไปวิ่งสายไหน ก็จำนำหมายเลขเส้นทางมาแปะไว้หน้าเบอร์ประจำรถ เช่น รถคันหมายเลข 2012 เมื่อนำไปวิ่งสายเชียงใหม่ ก็จะได้หมายเลข 18-2012 หากมีการเปลี่ยนแปลงนำรถคันนี้ไปวิ่งเส้นทางอื่นเช่น หนองคาย รถคันเดิมนี้ก็จะเมีหมายเลขปลี่ยนเป็น 23-2012 |
ผมลองตั้งข้อสังเกตเล่นๆ นะครับ
ผมเคยอ่านหนังสือเก่าๆ เล่มหนึ่ง เขาบอกว่า สมัยก่อนมีรถโดยสารวิ่งจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ชื่อว่าบริษัท ดาวเหนือ จำกัด วิ่งสายนี้ สาย 1 ที่โชครุ่งทวีวิ่งอยู่ อาจจะเป็นที่มาของสาย 1 นี้ก็ได้ครับ แล้วมีการปรับแก้รายละเอียดเส้นทางในภายหลัง ต้องไปดูที่ราชกิจจานุเบกษาแล้วหละครับ ถนนหนทางในประเทศไทย สมัยก่อนสัดส่วนเริ่มหายใจรดต้นคอกับทางรถไฟช่วงสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกฯ ไปสายเหนือทีในสมัยก่อน เราก็ทราบกันดีว่า อ้อมโลกไปกับเส้นพหลโยธิน ด้วยเหตุผลของการก่อสร้างถนนพหลโยธินก็คือ ไม่ต้องเปลืองงบสร้างสะพานจำนวนมาก แล้วไล่เลี่ยมาสาย 2 ลำปาง สาย 3 เชียงแสน ก็ว่ากันไป ตามที่ราชกิจจานุเบกษาแต่ละยุคเอื้ออำนวย การกำหนดสายรถทัวร์ ก็ต้องเป็นไปตามถนนที่มีอยู่ในแต่ละยุค แผนที่ทางหลวงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ที่ให้มีการตัดถนน ปรับปรุงถนนสายหลักทั่วประเทศ ซึ่งมีถนนมิตรภาพที่สหรัฐสร้างให้ด้วย สายอีสานนั้น พอมีถนนมิตรภาพ ก็เป็นไปได้นะครับ ที่รถสายพวกนี้เกิดขึ้นมาเมื่อถนนมิตรภาพตัดเรียบร้อ ยแล้ว จนเกิดสายขอนแก่น โคราช อุดร หนองคาย ตามลำดับ ลืมไป แผนที่ทางหลวงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ถนนแจ้งสนิทก็มีแล้ว ทำให้มีสายร้อยเอ็ด อุบลสายเก่าขึ้นมา และสายขึ้นภูพาน(213) เป็นทางลาดยางแล้วนา ก็มีสายนครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์แล้ว ส่วนสายชัยภูมิ เมืองเลย ก็เป็นไปได้ว่าถนนเส้น 201 ก็มีการตัดถนนมานานแล้วเช่นกัน (สายหนองบัวลำภูด้วย) ส่วนสายนายก ปราจีน อรัญฯ ผมคิดว่าสมัยก่อน ถนนรังสิต องครักษ์ยังไม่ตัด เวลาจะเข้าไปสามเมืองนี้ ก็ต้องเข้าเส้นพหลฯ เลี้ยวขวาที่หินกองไปตามถนนสุวรรณศร(33) ซึ่งเป็นสายเก่า และไกล เป็นถนนสายหลักสายเดียว ที่สามารถไปยังชายแดนไทย กัมพูชาได้ ในตอนนั้น สายใต้เนี่ย ผมว่าน่าสังเกตง่ายที่สุดครับ เลขรันจากสาย 61 บ้านเขาต่อ-พังงา ร่ายยาวมาจนถึงสาย 89 ผมตั้งข้อสังเกตอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับการเดินทางรถทัวร์สายใต้ในสมัยก่อน ก่อนที่สายเลขสามหลักเกิดขึ้น สมัยนั้นสายเอเชีย(41) ยังไม่มี มีเส้นเพชรเกษมเป็นสายหลัก สาย 62 ตามความเข้าใจของผมก็คงเข้าระนองก่อน(มั้ง) แล้ววิ่งตามเส้น 401 เข้าสุราษฎร์ ขนอม สาย 63 ก็ต้องผ่านระนองอยู่แล้ว ผมเกิดความสงสัยว่า ยุคก่อนโน้น เกาะภูเก็ตเป็นแหล่งต่อรถไปจังหวัดอื่นของภาคใต้หรือ เปล่า เพราะรถหมวด 3 สายใต้ มักจะเริ่มต้นที่ภูเก็ต แล้วไปยังหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ล่างลงไปจากภูเก็ตมากมาย และเส้นทางบางส่วนก็เป็นของ บขส. ด้วย (ผมคิดอย่างนี้นะ ผิดถูกยังไง รอข้อเท็จจริง หรือเจ้าถิ่นมาเล่าอีกที) แล้วสังเกตดีๆ ว่า สายใต้เนี่ย เส้นทางมันเหมือนรันจังหวัด อำเภอจากล่างสุดมาบนสุดเลย 64 ระนอง วิ่งตามเพชรเกษม 65 66 67 ประจวบ ข้ามมาสาย 68 วิ่งถึงแค่บางเลนนะครับ สมัยก่อน แล้วมาบางลี่ 69 ไปดอนเจดีย์(ตอนนี้ไปด่านช้าง) 70 ก็มาปราณบุรีอีกครั้ง 71 หัวหิน 72 ท่ายาง 73 เพชรบุรี 74 บ้านแหลม 75 ปากท่อ ลองรันไปเรื่อยๆ จนถึงสาย 78 แล้ว 79 เป็นของสายอีสาน 80 บางลี่ รันๆๆ มาเรื่อยๆ จนถึงสาย 85 สมุทรสาคร 87 ตลาดท่าช้าง 88 สุพรรณ อ้อ...ถนนมาลัยแมน(321)แล้วเสร็จตอนปี 2509 มาเลขหลัก 9 ก็เรียงแบบภาคใต้เลยนะ แต่เป็นจากบนลงล่าง เรียงสายตากเส้นพหลโยธินเด๊ะ 90 เชียงราย ลำปาง เขื่อนภูมิพล ผมกำลังสงสัยอยู่ว่า สาย 92 นี้เนี่ย มีมาเมื่อตอนสร้างเขื่อนภูมิพลหรือเปล่า เพราะการสร้างเขื่อนภูมิพลต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ต้องมีรถ บขส. เข้าไปรับคน (อ่านสัมภาษณ์ถาวรฟาร์ม เลยนึกขึ้นมาได้) แล้วมาตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ น่าน สุดแค่นั้นส่วน 97 ก็วิ่งตามทางที่เคยมีอยู่แล้วนั่นคือถนนมิตรภาพกับถน นนิตโยไปถึงพังโคน นี่เลขสายที่ผมตั้งข้อสังเกตเอาเองนะครับ ผมคิดว่าการคิดสายรถ ก็ต้องมีถนนเกิดขึ้นก่อน ถ้ามีรถไปถึง แล้วคนนิยมก็เปิดสายใหม่ บางทีก็ขยายเส้นทางไปเรื่อยเปื่อย เพื่อสอดคล้องกับประชากร ความต้องการที่เพิ่มขึ้น ถนนตัดใหม่ที รถทัวร์สายใหม่เกิดอย่างน้อยสักสาย ถ้าสายเก่าคนขึ้นน้อยก็ลดจำนวนเที่ยวลง ถ้าคนไม่นิยมก็เลิกไปเลย จึงไม่แปลก ที่จะมีรถทัวร์สายเก่าๆ บางสาย ยกเลิกการวิ่งเพราะคนไม่นิยม เพราะสายเก่ามันทั้งไกล และแพงด้วยครับ :) |
ขอบคุณน้องพงษ์ สำหรับความรู้ที่มอบให้พวกเราเสมอมา กับคลังความรู้เกี่ยวกับรถทัวร์ไทยที่น้องพงษ์เป็นผู ้บุกเบิกมา
ผมขออนุญาตขยายความต่อจากน้องพงษ์นะครับ ถือเป็นการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง เพื่อให้ได้องค์ความรู้สูงสุดแก่สมาชิก หากมีข้อมูลใดที่ผิดไปบ้าง ขอได้โปรดช่วยกันทักท้วงด้วยครับ ผมจำได้ว่า ในสมัยก่อนหมายเลขเส้นทางถูกกำหนดขึ้นจากทิศทางครับ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออก หลักเกณฑ์การแบ่งนั้น เขาใช้ถนนเป็นตัวแบ่งครับ ถนนที่ว่าก็คือทางหลวงแผนดินสายหลักนั่นเอง เริ่มจากสาย1 พหลโยธินที่มีทิศทางไปทางภาคเหนือ สาย2 ถนนมิตรภาพ มีทิศทางไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ สาย3 ถนนสุขุมวิท มีทิศทางไปทางภาคตะวันออก และสาย4 ถนนเพชรเกษม ที่มุ่งลงสู่ภาคใต้ ทางหลวงสายหลักในประเทศไทยมีเพียง 4 สายเท่านั้นนะครับ ดังจะได้กล่าวต่อไปว่า เราไม่มีทางหลวงสาย5 หรือ สาย6 แต่อย่างใด สมัยเด็กๆ ตอนที่ผมเรียนหนังสือ มีวิชาหนึ่ง(วิชาอะไรจำไม่ได้)ที่ครูสอนเรื่องนี้แหล ะ เรื่องถนนสายหลัก 4 สายนี้ ผมจำได้แม่นยำ จำได้จนถึงทุกวันนี้ และต่อมาผมก็เชื่อว่า การกำหนดเส้นทางใช้หลักเกณฑ์หมายเลขทางหลวงสายหลักนี ่แหละเป็นตัวกำหนดครับ ผมขอเริ่มจากเลขตัวเดียวก่อนนะครับ เอาจากเลข 1 ไปเลย เลข 1 บ่งบอกถึงถนนพหลโยธินครับ สมัยก่อนถนนสาย32 (สายเอเซีย)ยังไม่มี การจะเดินทางขึ้นเหนือก็ใช้เส้นทางนี้แหละครับ สายเก่าแก่ ถนนพหลโยธิน ขึ้นไปทางสระบุรี ลพบุรี ตาคลี นครสวรรค์.....เป็นที่มาของสาย 1 เชียงใหม่ ที่ตอนนี้โชครุ่งทวีได้สัมปทาน...สมัยก่อนนี้ถาวรฟาร ์มเขาวิ่งมาก่อนครับ รถสาย1 ของถาวรฟาร์ม อิอิ ตามด้วยสาย2 3 5 6 8 และ 9 (สาย 4 สาย5 และสาย 7 จะขอกล่าวในภายหลัง) เห็นได้ว่าสายเหล่านี้เป็นเลขตัวเดียว วิ่งอยู่ในเส้นทางภาคเหนือ รวมทั้งภาคกลางขึ้นไปทางทิศเหนือ ตามด้วยเลขสองหลักที่ขึ้นต้นด้วย 1x คือ 10 11 12 13 14 15 16 17 18 และ 19 ที่ยังยืนยันหลักเกณฑ์ได้ว่า เส้นทางที่ขึ้นต้นด้วยเลข 1 เป็นเส้นทางสายเหนือและภาคกลางขึ้นไปทิศทางเหนือ สำหรับที่เป็นส่วนเกิน หรือไส้ติ่งอักเสบ คือ สาย 4 5 และ 7 ที่ปัจจุบันกลายเป็นเบอร์ของเส้นทางสายกันทรลักษณ์-หนองบัวลำภู-ช่องเม็ก นั้น ผมก็ยังยืนยันว่าเดิมเบอร์เหล่านี้เป็นเบอร์ของสายเห นือมาก่อนทั้งสิ้น ไม่รู้ว่าไปทำอีท่าไหนถึงได้กลายเป็นอย่างนี้ไปได้.. .ทำให้หลักที่ผมวางไว้เสื่อมหมดเลย ต่อมาก็เลขสองหลัก ที่ขึ้นต้นด้วยเลขสอง 2x ก็ร่ายมาตั้งแต่ 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 ขุนพลสายอิสานเหล่านี้ ปราศจากข้อกังขาใดๆว่า ถ้าขึ้นต้นด้วยเลข2 แล้ว อิสานแน่ๆ 100% อันนี้ให้ไปเคลียร์ที่ไหนก็ได้ เคลียร์ไหวทุกที่....ไหวจะเคลียร์ ต่อมาก็เป็นไส้ติ่งอักเสบอีกแล้ว สำหรับสาย 30 31 32 33 34 ขุนพลสายอิสานที่ไปขโมยซีนสายตะวันออกมาซะงั้น...เดี ๋ยวจะได้หาคำอธิบายกันต่อไป มาถึงสายที่ขึ้นต้นด้วยเลขสาม 3x ขอเริ่มที่ 35 36 37 38 39 ขุนพลสายตะวันออกรุ่นบุกเบิกเหล่านี้ยังคงยึดหลักเกณ ฑ์ความเป็นถนนสายหลักของถนนสุขุมวิทไว้ได้อย่างเหนีย วแน่น แต่ไม่สามารถเหนี่ยวรั้งเอาเบอร์ 30-34 ไว้ได้ ท่านเชื่อมั๊ยครับว่า แต่ก่อนเบอร์ 33 กับ 34 เป็นเบอร์ของรถสายจันทบุรีและตราดครับ ก่อนจะถูกสายกระนวน-บ้านแพง-สหัสขันธ์ แย่งเอาเบอร์ไปหน้าตาเฉย นี่ยังไม่นับเบอร์ 30 31 32 ที่ถูกสายอิสานแย่งไปก่อนหน้านี้อย่างไม่มีหลักมีเกณ ฑ์ ผมหละไม่ไหวจะเคลียร์จริงๆเรื่องนี้... สายที่ขึ้นต้นด้วยเลขสี่ 4x ที่โดยเกณฑ์แล้วต้องเป็นเบอร์สายใต้แหงๆ กลับไม่เป็นเช่นนั้น อันนี้ก็ไม่ไหวจะเคลียร์เหมือนกันครับ...40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 เบอร์เหล่านี้ล้วนเป็นเบอร์ของขุนพลสายตะวันออกเลียบ ชายฝั่งทะเลที่มีต้นทางอยู่ที่เอกมัย ฉีกกฎเกณฑ์ของผมขาดกระจุยครับ สุขุมวิทมาแย่งเบอร์เพชรเกษมไปหน้าตาเฉย...ไม่ไหวจะเ คลียร์ครับ ผมไม่ขอกล่าวถึงเลขที่ขึ้นต้นด้วย 5x นะครับ...ขอข้ามไป เพราะในประเทศไทยไม่มีถนนทางหลวงที่ขึ้นต้นด้วยเลข5. ..พวกเบอร์ 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 และ 60 เหล่านี้ ถูกกำหนดขึ้นตามอำเภอใจ จะพูดว่าา จับยัด ก็ได้มั๊งครับ อยากจะพูดถึงเบอร์ 6x มากเลย เพราะเป็นเบอร์สายใต้ที่ผมเห็นว่าเลขมันสวยดีครับ เบอร์ 61 62 63 64 65 66 67 มันคือเบอร์รถสายใต้ วิ่งลงใต้ ผมอนุโลมนะครับ สำหรับเบอร์ 68 กับเบอร์ 69 ที่มีปลายทางอยู่ทางภาคกลางตอนล่างหรือตะวันตก รวมทั้ง สาย 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 87 88 89 พออนุโลมได้ว่ารถอออกจากสถานีขนส่งสายใต้...พอเข้าใจ แต่ที่ไม่เข้าใจคือ การเอาเลข 6 นำหน้ารถสายใต้รุ่นบุกเบิกนี่แหละ ทำไมไม่เป็นเลข 4 ก็ไม่ทราบเหมือนกัน ไม่ไหวจะเคลียร์จริงๆครับ แล้วท่านสังเกตุกันไหมครับว่า เหตุใดเบอร์ 86 สายธาตุพนม จึงได้บินเดี่ยวกระโดดไปอยู่สายอิสาน แบบแตกเหล่าแตกกอ มันมีกฎมีเกณฑ์อะไรยังไงหรือครับ... จากนั้นก็มาถึงเบอร์ 9x เริ่มจาก 90 91 92 93 94 95 96 97 และ 98 เริ่มต้นก็พอจะเข้าใจว่า เบอร์รถสายเหนือที่ขึ้นต้นด้วยเลข1 มันอัดกันจนเต็มแล้ว ไม่รู้จะหาเบอร์อะไร ก็มาเอาเบอร์9x นี่แหละ มันก็ดูดีมีเหตุผล แต่ก็ยังตอบคำถามเรื่องทิศทางไม่ได้ ผมก็พยายามทำใจยอมรับมันว่า ไอ้สาย9x มันไปทางเหนือ ไปทางเหนือคือ เชียงราย-ลำปาง-เขื่อนภูมิพล-ตาก-กำแพงเพชร-น่าน ไล่เรียงกันไป แต่พอนับไปนับมา แล้วไอ้เบอร์ 97(พังโคน) กับเบอร์98(อุบลสายใหม่) มันเหนือยังไงหว่า...ยิ่งนับวันผมยิ่งงงมากขึ้น... เพื่อเป็นการยืนยันว่า หลักการหรือกฏเกณฑ์ที่ใช้กำหนดหมายเลขเส้นทางขึ้นอยู ่กับหมายเลขทางหลวงสายหลัก ผมสังเกตุว่า รถหมวด3 ที่วิ่งเชื่อมระหว่างจังหวัดในภาคเดียวกันจะคงเลขทาง หลวงไว้ข้างหน้า เช่น 1xx ,2xx, 3xx หรือ 4xx เช่น 112 (เชียงใหม่-นครสวรรค์) เป็นต้น ต้องขออภัยที่ผมจำเส้นทางของรถหมวด3 ไม่ได้จริงๆ แต่ท่านไปดูเถอะครับว่า หมายเลขเส้นทางถูกกำหนดขึ้นตามนั้นจริงๆ |
นั้นและครับ ผมก็ไม่เข้าใจในการจัดของ บขส.เหมือนกัน สงสัยว่าถ้าสายไหนว่างจะจับยัดเลยมั่งครับ:) :)
|
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งฉบับที่ 2 พ.ศ.2507
เรื่องกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งรถโดยสารประจำทางด้ วยรถยนต์โดยสารระหว่างจังหวัด (เฉพาะเริ่มต้นจากจังหวัดพระนคร) ภาคเหนือและภาคกลางตอนบน 1. กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก อ.เถิน แยกซ้ายทางหลวงหมายเลข 3 อ.ลี้ อ.บ้านโฮ่ง อ.ป่าซาง ลำพูน สถานีขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ 2. กรุงเทพฯ ลำปาง สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก อ.เถิน อ.สบปราบ สถานีขนส่งจังหวัดลำปาง 3. กรุงเทพฯ เขื่อนภูมิพล สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 570.491 แยกซ้ายไปตามทางหลวงสายเขื่อนภูมิพล อ.สามเงา เขื่อนภูมิพล 4. กรุงเทพฯ ตาก สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร สถานีขนส่งจังหวัดตาก 5. กรุงเทพฯ กำแพงเพชร สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ สถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร 6. กรุงเทพฯ สุโขทัย สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 16 (ถ.จรดวิถีถ่อง) อ.บ้านด่านลานหอย สถานีขนส่งจังหวัดสุโขทัย 7. กรุงเทพฯ นครสวรรค์ สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท สถานีขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ 8. กรุงเทพฯ อุทัยธานี สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท จนถึง อ.มโนรมย์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงสายมโนรมย์ อุทัยธานี สถานีขนส่งจังหวัดอุทัยธานี 9. กรุงเทพฯ ลำนารายณ์ สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี อ.โคกสำโรง แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 10 (ถ.สุระนารายณ์) จนถึง อ.ชัยบาดาล แล้วแยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 17 (ถ.คชเสนีย์) บ้านลำนารายณ์ 10. กรุงเทพฯ หล่มสัก สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี อ.โคกสำโรง แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 10 (ถ.สุระนารายณ์) จนถึง อ.ชัยบาดาล แล้วแยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 17 (ถ.คชเสนีย์) อ.วิเชียรบุรี วังชมภู เพชรบูรณ์ อ.หล่มสัก 11. กรุงเทพฯ สิงห์บุรี สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 605 สถานีขนส่งจังหวัดสิงห์บุรี 12. กรุงเทพฯ ลพบุรี สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี สถานีขนส่งจังหวัดลพบุรี 13. กรุงเทพฯ พระพุทธบาท สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี อ.พระพุทธบาท 14. กรุงเทพฯ สระบุรี สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สถานีขนส่งจังหวัดสระบุรี 15. กรุงเทพน อ่างทอง สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 605 อยุธยา สถานีขนส่งจังหวัดอ่างทอง 16. กรุงเทพฯ บางปะอิน สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 52 แยกซ้ายไปตามทางหลวงสายบางปะอิน (ถ.อุดมสรยุทธ) อ.บางปะอิน |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
21. กรุงเทพฯ นครราชสีมา สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 21 (ถ.มิตรภาพ) อ.ปากช่อง สถานีขนส่งจังหวัดนครราชสีมา 22. กรุงเทพฯ อุดรธานี สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 21 (ถ.มิตรภาพ) อ.ปากช่อง นครราชสีมา บ้านตลาดแค อ.พล อ.บ้านไผ่ ขอนแก่น อ.น้ำพอง สถานีขนส่งจังหวัดอุดรธานี 23. กรุงเทพฯ หนองคาย สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 21 (ถ.มิตรภาพ) อ.ปากช่อง นครราชสีมา บ้านตลาดแค อ.พล อ.บ้านไผ่ ขอนแก่น อ.น้ำพอง อุดรธานี สถานีขนส่งจังหวัดหนองคาย 24. กรุงเทพฯ ร้อยเอ็ด สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 21 (ถ.มิตรภาพ) อ.ปากช่อง นครราชสีมา บ้านตลาดแค อ.พล อ.บ้านไผ่ แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 16 (ถ.แจ้งสนิท) มหาสารคาม สถานีขนส่งจังหวัดร้อยเอ็ด 25. กรุงเทพฯ อุบลราชธานี สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 21 (ถ.มิตรภาพ) อ.ปากช่อง นครราชสีมา บ้านตลาดแค อ.พล อ.บ้านไผ่ แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 16 (ถ.แจ้งสนิท) มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สถานีขนส่งจังหวัดอุบลราชธานี 26. กรุงเทพฯ นครพนม สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 21 (ถ.มิตรภาพ) อ.ปากช่อง นครราชสีมา บ้านตลาดแค อ.พล อ.บ้านไผ่ แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 16 (ถ.แจ้งสนิท) มหาสารคาม แล้วแยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 25 (ถ.ถีนานนท์) กาฬสินธุ์ สกลนคร แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 18 (ถ.นิตตะโย) สถานีขนส่งจังหวัดนครพนม 27. กรุงเทพฯ เลย สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 21 (ถ.มิตรภาพ) อ.ปากช่อง นครราชสีมา บ้านตลาดแค อ.พล อ.บ้านไผ่ ขอนแก่น แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 16 (ถ.มลิวรรณ) อ.ชุมแพ แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 19 (ถ.มลิวรรณ) อ.วังสะพุง สถานีขนส่งจังหวัดเลย 28. กรุงเทพฯ ชัยภูมิ สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 21 (ถ.มิตรภาพ) อ.ปากช่อง อ.สีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 19 (ถ.มลิวรรณ) อ.หนองบัวโคก อ.จตุรัส สถานีขนส่งจังหวัดชัยภูมิ |
ภาคตะวันออกเลียบชายฝั่ง
41. กรุงเทพฯ ตราด สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี อ.สัตตหีบ ระยอง จันทบุรี สถานีขนส่งจังหวัดตราด 42. กรุงเทพฯ จันทบุรี สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี อ.สัตตหีบ ระยอง สถานีขนส่งจังหวัดจันทบุรี 43. กรุงเทพฯ แกลง สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี อ.สัตตหีบ ระยอง อ.แกลง 44. กรุงเทพฯ ปากน้ำประแส สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี อ.สัตตหีบ ระยอง อ.แกลง บ้านป่าเตียน(กม.378.0) แยกขวาไปตามทางหลวงจังหวัด ต.ประแส 45. กรุงเทพฯ บ้านค่าย สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี อ.สัตตหีบ ระยอง จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 220.9 แยกซ้ายไปตามทางหลวงจังหวัดสายระยอง บ้านค่าย อ.บ้านค่าย 46. กรุงเทพฯ ระยอง สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี อ.สัตตหีบ สถานีขนส่งจังหวัดระยอง 47. กรุงเทพฯ สัตตหีบ สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี อ.ศรีราชา อ.สัตตหีบ 48. กรุงเทพฯ นาเกลือ สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี อ.ศรีราชา ตลาดนาเกลือ(อ.บางละมุง) 49. กรุงเทพฯ ศรีราชา สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี อ.ศรีราชา 50. กรุงเทพฯ ชลบุรี สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ สถานีขนส่งจังหวัดชลบุรี 51. กรุงเทพฯ บ้านบึง สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 93.8 แยกซ้ายไปตามทางหลวงจังหวัดสายชลบุรี - บ้านบึง อ.บ้านบึง 52. กรุงเทพฯ พนัสนิคม สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 19 อ.พนัสนิคม 53. กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา(ก) สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ สามแยกบางปะกง แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 106 สถานีขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรา 54. กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา(ข) สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.พหลโยธิน) อ.บางเขน แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 505 (ถ.สุวินทวงศ์) อ.หนองจอก สถานีขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรา 55. กรุงเทพฯ บางคล้า สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ สามแยกบางปะกง แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 106 ฉะเชิงเทรา อ.บางคล้า 56. กรุงเทพฯ พนมสารคาม สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ สามแยกบางปะกง แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 106 ฉะเชิงเทรา อ.พนมสารคาม 57. กรุงเทพฯ บ้านนา สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 8 (ถ.สุวรรณศร) อ.หนองหมู อ.บ้านนา 58. กรุงเทพฯ นครนายก สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 8 (ถ.สุวรรณศร) สถานีขนส่งจังหวัดนครนายก 59. กรุงเทพฯ ปราจีนบุรี สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 8 (ถ.สุวรรณศร) นครนายก สถานีขนส่งจังหวัดปราจีนบุรี 60. กรุงเทพฯ อรัญญประเทศ สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 8 (ถ.สุวรรณศร) นครนายก ปราจีนบุรี อ.สระแก้ว อ.วัฒนานคร อ.อรัญประเทศ |
ภาคใต้และภาคกลางตอนล่าง
61. กรุงเทพฯ หาดใหญ่ สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา กระบี่ อ.ห้วยยอด ตรัง พัทลุง อ.หาดใหญ่(สงขลา) 62. กรุงเทพฯ ตรัง สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา กระบี่ อ.ห้วยยอด สถานีขนส่งจังหวัดตรัง 63. กรุงเทพน ภูเก็ต สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สามแยกโคกกลอย แยกขวาไปตามทางหลวงสายภูเก็ต ท่านุ่น ท่าฉัตรไชย อ.ถลาง สถานีขนส่งจังหวัดภูเก็ต 64. กรุงเทพฯ ระนอง สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สถานีขนส่งจังหวัดระนอง 65. กรุงเทพฯ ชุมพร สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สถานีขนส่งจังหวัดชุมพร 66. กรุงเทพฯ ทับสะแก สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 364 แยกซ้ายไปตามทางหลวงสายทับสะแก อ.ทับสะแก 67. กรุงเทพฯ ประจวบคีรีขันธ์ สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 323 แยกซ้ายไปตามทางหลวงสายประจวบคีรีขันธ์ สถานีขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 68. กรุงเทพฯ กุยบุรี สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี อ.กุยบุรี 69. กรุงเทพฯ สามร้อยยอด สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ต.สามร้อยยอด 70. กรุงเทพฯ ปราณบุรี สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี อ.หัวหิน จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 256 แยกซ้ายไปตามทางหลวงจังหวัดสายปราณบุรี ต.ปากน้ำปราณบุรี 71. กรุงเทพฯ หัวหิน สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี อ.หัวหิน 72. กรุงเทพฯ ท่ายาง สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 183 แยกขวาไปตามทางหลวงสายท่ายาง อ.ท่ายาง 73. กรุงเทพฯ เพชรบุรี สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี สถานีขนส่งจังหวัดเพชรบุรี 74. กรุงเทพฯ บ้านแหลม สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงจังหวัดสายเพชรบุรี บ้านแหลม อ.บ้านแหลม 75. กรุงเทพน ปากท่อ สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 129 แยกซ้ายไปตามทางหลวงสายปากท่อ อ.ปากท่อ 76. กรุงเทพฯ ราชบุรี สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม สถานีขนส่งจังหวัดราชบุรี 77. กรุงเทพฯ โพธาราม สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 85 แยกขวาไปตามทางหลวงสายโพธาราม อ.โพธาราม 78. กรุงเทพฯ ดำเนินสะดวก สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม บ้านอีจาง(ประมาณกิโลเมตรที่ 83) แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 305 อ.บางแพ อ.ดำเนินสะดวก 79. กรุงเทพฯ ศรีประจันต์ สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 58.9 แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 305 (ถ.มาลัยแมน) อ.กำแพงแสน จนถึงสามแยกจรเข้สามพัน แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 8 อ.อู่ทอง จนถึงสามแยกอู่ยา แล้วแยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 305 อ.ดอนเจดีย์ อ.ศรีประจันต์ 80. กรุงเทพฯ บางลี่ สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 58.9 แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 305 (ถ.มาลัยแมน) อ.กำแพงแสน จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 46.7 แยกขวาไปตามทางหลวงจังหวัดสายอำเภอสองพี่น้อง ต.บางลี่ 81. กรุงเทพฯ กาญจนบุรี สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม จนถึงสามแยกบ้านบึงกระจับ (ประมาณกิโลเมตรที่ 72.152) แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.แสงชูโต) สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี 82. กรุงเทพฯ บ้านโป่ง สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม จนถึงสามแยกบ้านบึงกระจับ (ประมาณกิโลเมตรที่ 72.152) แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.แสงชูโต) อ.บ้านโป่ง 83. กรุงเทพฯ นครปฐม สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) สถานีขนส่งจังหวัดนครปฐม 84. กรุงเทพฯ สามพราน สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 35.840 แยกซ้ายไปตามทางหลวงสายสามพราน อ.สามพราน 85. กรุงเทพฯ สมุทรสาคร สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 24.92 แยกซ้ายไปตาม ถ.เศรษฐกิจ 1 อ.กระทุ่มแบน สถานีขนส่งจังหวัดสมุทรสาคร 86. กรุงเทพฯ นครไชยศรี สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 43.600 แยกขวาไปตามทางหลวงสายนครไชยศรี อ.นครไชยศรี 87. กรุงเทพฯ สามชุก สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 58.9 แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 305 (ถ.มาลัยแมน) อ.กำแพงแสน จนถึงสามแยกจรเข้สามพัน แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 8 อ.อู่ทอง จนถึงสามแยกอู่ยา แล้วแยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 305 อ.ดอนเจดีย์ จนถึงสามแยกตาแล แยกซ้ายไปตามคันคูชลประทาน อ.สามชุก 88. กรุงเทพฯ สุพรรณบุรี สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 58.9 แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 305 (ถ.มาลัยแมน) อ.กำแพงแสน จนถึงสามแยกจรเข้สามพัน แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 8 อ.อู่ทอง สถานีขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2507 พลโท พงษ์ ปุณณกันต์ ประธานคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ที่มาของข้อมูล http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DA...07/D/112/1.PDF |
มาแล้วครับ ของแท้แน่นอน หมายเลขเส้นทางไล่เรียงตั้งแต่เบอร์ 1 (เชียงใหม่-สายเก่า) ถึง 88(สุพรรณบุรี-สายเก่า) จากน้องพงษ์ ขุนคลังข้อมูลมือหนึ่งของเรา ขอบคุณน้องพงษ์มากครับ
ดูอย่างนี้แล้ว อาจสรุปได้ว่า หมายเลขเส้นทางคงจะถูกกำหนดขึ้นโดยไม่มีกฏเกณฑ์อะไร ผู้กำหนดคงจะเลือกที่จะกำหนดเอาตามความสะดวกมากกว่า ด้วยเหตุที่การคมนาคมในสมัยก่อน(ปี2507) คงยังไม่กว้างขวางนัก รัฐ(ในขณะนั้น)คงมีนโยบายและกำลังที่จะจัดรถโดยสารไป ยังหัวเมืองสำคัญๆได้เพียง 88 หัวเมืองซึ่งก็ต้องถือว่าเกือบจะครอบคลุมทั้งประเทศอ ยู่แล้ว (จังหวัดในขณะนั้นน่าจะมีไม่เกิน 70-71 จังหวัด) |
มันมีเก่ากว่านี้ครับ ซึ่งกรมการขนส่งทางบกได้กำหนดเส้นทางรถทัวร์ก่อนหน้า ชุดแรกของปี 2507 เสียอีก แต่ผมคิดว่า จัดแบบ 2507 ดูเป็นระบบมากกว่าอันเก่าที่ผมจะแปะลิงค์ทั้งสองอันน ี้มากเลยครับ
นี่คือเส้นทางรถทัวร์ยุคปี 2502 2503 ที่รัฐบาลในยุคนั้น มีการจัดระเบียบเส้นทางรถทัวร์ ก่อนที่จะเป็นอย่างในปี 2507 ครับ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DA...02/D/107/1.PDF http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DA.../D/015/457.PDF |
ดูจากราชกิจจาฯปี 2507 ที่กำหนดเส้นทางเดินรถแล้ว
1. เส้นทางสาย 17-20 กับเส้นทางสาย 29-40 หายไปครับ หายไปเป็นช่วงๆ แสดงว่าจะต้องมีการประกาศราชกิจจาฯในฉบับหลังๆในเส้น ทางที่หายไป 2. เส้นทางสายใต้ระยะไกลมีแค่ สาย 61-65 (หาดใหญ่,ตรัง,ภูเก็ต,ระนอง และชุมพร) เท่านั้น เข้าใจว่า การเดินทางลงใต้สมัยก่อนคงจะยากลำบากพอสมควร ในขณะที่สายเหนือ-อิสาน-ตะวันออกและภาคกลาง ค่อนข้างจะทั่วถึง ทำให้สงสัยว่าพี่น้องชาวใต้สมัยก่อนเขาเดินทางกันอย่ างไร อาจเป็นไปได้ว่า ชาวปัตตานี นราธิวาส ยะลา สตูล คงจะต้องเดินทางด้วยรถยนต์สายสั้นๆมาต่อรถที่หาดใหญ่ กัน คงทุลักทุเลกันพอสมควรหละ |
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งฉบับที่ 143 พ.ศ.2510 เรื่องกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งรถโดยสารประจำทางด้ วยรถยนต์โดยสารระหว่างจังหวัด (เฉพาะเริ่มต้นจากจังหวัดพระนคร) 17. กรุงเทพฯ ชัยนาท สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 605 อ.ท่าวุ้ง สิงห์บุรี อ.อินทร์บุรี อ.สรรพยา สามแยกบ้านดอนเสือ แยกขวาไปตามถนนสายชัยนาท เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนเจ้าพระยา สามแยกเขื่อนเจ้าพระยา แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.พหลโยธิน) สถานีขนส่งจังหวัดชัยนาท 29. กรุงเทพฯ เลย สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 21 (ถ.มิตรภาพ) อ.ปากช่อง อ.สีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 19 อ.ด่านขุนทด อ.จตุรัส ชัยภูมิ อ.แก้งคร้อ อ.ภูเขียว อ.ชุมแพ อ.ภูกระดึง เลย 89. กรุงเทพฯ หลังสวน สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 499 (สี่แยกปฐมพร) แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 11 อ.สวี อ.หลังสวน ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2510 พลโท พงษ์ ปุณณกันต์ ประธานคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ที่มาของข้อมูล http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DA.../D/023/851.PDF |
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งฉบับที่ 185 พ.ศ.2511 เรื่องกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งรถโดยสารประจำทางด้ วยรถยนต์โดยสารระหว่างจังหวัด (เฉพาะเริ่มต้นจากจังหวัดพระนคร) 18. กรุงเทพฯ เชียงใหม่ (ข) สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก อ.เถิน อ.สบปราบ ลำปาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 11 สามแยกลำพูน สี่แยกสันกำแพง สี่แยกสันทราย สถานีขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม 2512 พลโท พงษ์ ปุณณกันต์ ประธานคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ที่มาของข้อมูล http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DA.../D/007/174.PDF |
แจ่มครับ สำหรับคลังข้อมูลน้องพงษ์ รวมทั้งความเห็นของน้าต้อมด้วย
|
อ้างถึง:
อาจจะเป็นเพราะว่า เส้นทางในฝั่งตะวันออก(อ่าวไทย) มีระบบรถไฟรองรับอยู่แล้ว ก็เลยไม่อยากไปทับเส้นทางรถไฟที่มีอยู่(เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา นราธิวาส เป็นต้น) (*ทั้งหมดนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมนะครับ) ปล. เดี๋ยวจะนำข้อมูลเส้นทางเดินรถ จากราชกิจจาในปี 2513 มาให้ชมนะครับ อดใจรอนิดนึงนะครับ :) |
อ้างถึง:
|
โอ้ เมื่อก่อนเลขทางหลวงไม่เหมือนปัจจุบันด้วยแฮะ
อย่างเช่น พหลโยธิน ปัจจุบันหมายเลข 1 เมื่อก่อนหมายเลข 5 มิตรภาพ ปัจจุบันหมายเลข 2 เมื่อก่อนหมายเลข 21 สีคิ้ว-ชัยภูมิ ปัจจุบันหมายเลข 201 เมื่อก่อนหมายเลข 19 แจ้งสนิทไปอุบลบ้านเรา ปัจจุบันหมายเลข 23 เมื่อก่อนหมายเลข 16 นิตโย ปัจจุบันหมายเลข 22 เมื่อก่อนหมายเลข 18 เป็นต้น |
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งฉบับที่ 214 (พ.ศ.2513) เรื่อง : ยกเลิกและกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งรถโดยสารประจำทา ง ด้วยรถยนต์โดยสารระหว่างจังหวัด (เฉพาะเริ่มต้นจากจังหวัดพระนคร) จำนวนเส้นทางที่กำหนดใหม่ : 87 เส้นทาง (อ้างอิงจาก : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DA...D/053/1872.PDF ) กลุ่มเส้นทางภาคเหนือและภาคกลาง(สายที่ 1-19) สายที่ 1 : กรุงเทพฯ-เชียงใหม่(ก) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก อ.เถิน แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข106 อ.ลี้ อ.บ้านโฮ่ง อ.ป่าซาง ลำพูน สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ สายที่ 2 : กรุงเทพฯ-ลำปาง เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก อ.เถิน อ.สบปราบ สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดลำปาง สายที่ 3 : กรุงเทพฯ-เขื่อนภูมิพล เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก แยกซ้ายเข้าทางหลวงสายเขื่อนภูมิพล อ.สามเงา สิ้นสุดที่เขื่อนภูมิพล สายที่ 4 : กรุงเทพฯ-ตาก เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดตาก สายที่ 5 : กรุงเทพฯ-กำแพงเพชร เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร สายที่ 6 : กรุงเทพฯ-สุโขทัย เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข101 อ.พรานกระต่าย สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดสุโขทัย สายที่ 7 : กรุงเทพฯ-นครสวรรค์ เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ สายที่ 8 : กรุงเทพฯ-อุทัยธานี(ก) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท อ.มโนรมย์ แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข313 สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดอุทัยธานี สายที่ 9 : กรุงเทพฯ-ลำนารายณ์ เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี ลพบุรี อ.โคกสำโรง แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข205(สุรนารายณ์) สิ้นสุดที่อ.ชัยบาดาล(ตลาดลำนารายณ์) สายที่ 10 : กรุงเทพฯ-หล่มสัก(ก) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี ลพบุรี อ.โคกสำโรง แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข205(สุรนารายณ์) อ.ชัยบาดาล แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข21(คชเสนี) เพชรบูรณ์ สิ้นสุดที่อ.หล่มสัก สายที่ 11 : กรุงเทพฯ-สิงห์บุรี เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี ลพบุรี แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข311 สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดสิงห์บุรี สายที่ 12 : กรุงเทพฯ-ลพบุรี เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดลพบุรี สายที่ 13 : กรุงเทพฯ-พระพุทธบาท เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี สิ้นสุดที่อ.พระพุทธบาท สายที่ 14 : กรุงเทพฯ-หล่มสัก(ข) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี ต.พุแค แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข21 อ.ชัยบาดาล เพชรบูรณ์ สิ้นสุดที่อ.หล่มสัก สายที่ 15 : กรุงเทพฯ-อ่างทอง เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข309 พระนครศรีอยุธยา สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดอ่างทอง สายที่ 16 : กรุงเทพฯ-บางปะอิน เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน กิโลเมตรที่52 แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข308 สิ้นสุดที่อ.บางปะอิน สายที่ 17 : กรุงเทพฯ-ชัยนาท เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี ลพบุรี แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข311 สิงห์บุรี อ.สรรพยา เขื่อนเจ้าพระยา แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดชัยนาท สายที่ 18 : กรุงเทพฯ-เชียงใหม่(ข) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก อ.เถิน อ.สบปราบ ลำปาง แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข11 สามแยกลำพูน สี่แยกสันกำแพง สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ สายที่ 19 : กรุงเทพฯ-อุทัยธานี(ข) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี ลพบุรี แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข311 สิงห์บุรี อ.สรรพยา แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข3183 อ.วัดสิงห์ สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดอุทัยธานี |
กลุ่มเส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(สายที่ 20-32) (อ้างอิงจาก : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DA...D/053/1872.PDF )
สายที่ 20 : กรุงเทพฯ-ขอนแก่น เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข2(มิตรภาพ) อ.ปากข่อง นครราชสีมา อ.พล อ.บ้านไผ่ สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดขอนแก่น สายที่ 21 : กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข2(มิตรภาพ) อ.ปากข่อง สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดนครราชสีมา สายที่ 22 : กรุงเทพฯ-อุดรธานี เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข2(มิตรภาพ) อ.ปากข่อง นครราชสีมา อ.พล อ.บ้านไผ่ ขอนแก่น อ.น้ำพอง สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดอุดรธานี สายที่ 23 : กรุงเทพฯ-หนองคาย เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข2(มิตรภาพ) อ.ปากข่อง นครราชสีมา อ.พล อ.บ้านไผ่ ขอนแก่น อ.น้ำพอง อุดรธานี สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดหนองคาย สายที่ 24 : กรุงเทพฯ-ร้อยเอ็ด เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข2(มิตรภาพ) อ.ปากข่อง นครราชสีมา อ.พล อ.บ้านไผ่ แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข23(แจ้งสนิท) มหาสารคาม สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดร้อยเอ็ด สายที่ 25 : กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข2(มิตรภาพ) อ.ปากข่อง นครราชสีมา อ.พล อ.บ้านไผ่ แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข23(แจ้งสนิท) มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดอุบลราชธานี สายที่ 26 : กรุงเทพฯ-นครพนม เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข2(มิตรภาพ) อ.ปากข่อง นครราชสีมา อ.พล อ.บ้านไผ่ แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข23(แจ้งสนิท) มหาสารคาม แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข213(ถีนานนท์) กาฬสินธุ์ สกลนคร แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข22(นิตตะโย) สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดนครพนม สายที่ 27 : กรุงเทพฯ-สกลนคร เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข2(มิตรภาพ) อ.ปากข่อง นครราชสีมา อ.พล อ.บ้านไผ่ แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข23(แจ้งสนิท) มหาสารคาม แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข213(ถีนานนท์) กาฬสินธุ์ สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดสกลนคร สายที่ 28 : กรุงเทพฯ-ชัยภูมิ เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข2(มิตรภาพ) อ.ปากข่อง อ.สีคิ้ว แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข201(มลิวรรณ) อ.จตุรัส สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดชัยภูมิ สายที่ 28 : กรุงเทพฯ-เลย เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข2(มิตรภาพ) อ.ปากข่อง อ.สีคิ้ว แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข201(มลิวรรณ) อ.จตุรัส ชัยภูมิ อ.แก้งคร้อ อ.ภูเขียว อ.ชุมแพ อ.ภูกระดึง สิ้นสุดที่จังหวัดเลย สายที่ 30 : กรุงเทพฯ-สกลนคร เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข2(มิตรภาพ) อ.ปากข่อง นครราชสีมา อ.พล อ.บ้านไผ่ แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข23(แจ้งสนิท) มหาสารคาม แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข213(ถีนานนท์) สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดกาฬสินธุ์ สายที่ 31 : กรุงเทพฯ-สุรินทร์ เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข2(มิตรภาพ) อ.ปากข่อง อ.สีคิ้ว นครราชสีมา แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข24 อ.โชคชัย อ.นางรอง อ.ประโคนชัย อ.ปราสาท แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข214 สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดสุรินทร์ สายที่ 32 : กรุงเทพฯ-บุรีรัมย์ เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข2(มิตรภาพ) อ.ปากข่อง อ.สีคิ้ว นครราชสีมา แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข24 อ.โชคชัย อ.นางรอง แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข218 สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ |
กลุ่มเส้นทางภาคตะวันออก/ภาคตะวันออกเลียบชายฝั่ง(สา ยที่ 33-60)
(อ้างอิงจาก : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DA...D/053/1872.PDF ) สายที่ 33 : กรุงเทพฯ-ตราด(ข) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข34 ชลบุรี ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) อ.สัตหีบ ระยอง จันทบุรี สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดตราด สายที่ 34 : กรุงเทพฯ-จันทบุรี(ข) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข34 ชลบุรี ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) อ.สัตหีบ ระยอง สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดจันทบุรี สายที่ 35 : กรุงเทพฯ-ระยอง(ข) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข34 ชลบุรี ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) อ.สัตหีบ สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดระยอง สายที่ 36 : กรุงเทพฯ-สัตหีบ(ข) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข34 ชลบุรี ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สิ้นสุดที่อ.สัตหีบ สายที่ 37 : กรุงเทพฯ-ศรีราชา(ข) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข34 ชลบุรี ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สิ้นสุดที่อ.ศรีราชา สายที่ 38 : กรุงเทพฯ-ชลบุรี(ข) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข34 สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดชลบุรี สายที่ 39 : กรุงเทพฯ-บางคล้า(ข) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข34 สี่แยกบางปะกง แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข314 ฉะเชิงเทรา แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข304 สี่แยกบางคล้า แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข3121 สิ้นสุดที่อ.บางคล้า สายที่ 40 : กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา(ข) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข34 สี่แยกบางปะกง แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข314 สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรา สายที่ 41 : กรุงเทพฯ-ตราด(ก) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา สมุทรปราการ ชลบุรี ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) อ.สัตหีบ ระยอง จันทบุรี สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดตราด สายที่ 42 : กรุงเทพฯ-จันทบุรี(ก) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา สมุทรปราการ ชลบุรี ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) อ.สัตหีบ ระยอง สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดจันทบุรี สายที่ 43 : กรุงเทพฯ-แกลง เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา สมุทรปราการ ชลบุรี ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) อ.สัตหีบ ระยอง สิ้นสุดที่อ.แกลง สายที่ 44 : กรุงเทพฯ-ประแส เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา สมุทรปราการ ชลบุรี ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) อ.สัตหีบ ระยอง อ.แกลง บ้านป่าเตียน(กม.278.0) แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข3162 สิ้นสุดที่ต.ประแส สายที่ 45 : กรุงเทพฯ-บ้านค่าย เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา สมุทรปราการ ชลบุรี ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) อ.สัตหีบ ระยอง แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข3138 สิ้นสุดที่อ.บ้านค่าย สายที่ 46 : กรุงเทพฯ-ระยอง(ก) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา สมุทรปราการ ชลบุรี ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) อ.สัตหีบ สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดระยอง |
สายที่ 47 : กรุงเทพฯ-สัตหีบ(ก)
เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา สมุทรปราการ ชลบุรี ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สิ้นสุดที่อ.สัตหีบ สายที่ 48 : กรุงเทพฯ-บางละมุง เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา สมุทรปราการ ชลบุรี ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สิ้นสุดที่อ.บางละมุง(ตลาดนาเกลือ) สายที่ 49 : กรุงเทพฯ-ศรีราชา(ก) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา สมุทรปราการ ชลบุรี ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สิ้นสุดที่อ.ศรีราชา สายที่ 50 : กรุงเทพฯ-ชลบุรี(ก) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา สมุทรปราการ สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดชลบุรี สายที่ 51 : กรุงเทพฯ-บ้านบึง เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา สมุทรปราการ ชลบุรี แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข3133 สิ้นสุดที่อ.บ้านบึง สายที่ 52 : กรุงเทพฯ-พนัสนิคม เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา สมุทรปราการ ชลบุรี แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข315 สิ้นสุดที่อ.พนัสนิคม สายที่ 53 : กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา(ก) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา สมุทรปราการ สามแยกบางปะกง แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข314 สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรา สายที่ 54 : กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา(ค) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข304(สุวินทวงศ์) อ.มีนบุรี สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรา สายที่ 55 : กรุงเทพฯ-บางคล้า(ก) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา สมุทรปราการ สามแยกบางปะกง แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข314 ฉะเชิงเทรา แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข304 สี่แยกบางคล้า แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข3121 สิ้นสุดที่อ.บางคล้า สายที่ 56 : กรุงเทพฯ-พนมสารคาม เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข3(สุขุมวิท) สี่แยกบางนา สมุทรปราการ สามแยกบางปะกง แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข314 ฉะเชิงเทรา แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข304 สิ้นสุดที่อ.พนมสารคาม สายที่ 58 : กรุงเทพฯ-นครนายก เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข33(สุวรรณศร) อ.บ้านนา สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดนครนายก สายที่ 59 : กรุงเทพฯ-ปราจีนบุรี เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข33(สุวรรณศร) อ.บ้านนา นครนายก วงเวียนบ้านพระ แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข320 สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดปราจีนบุรี สายที่ 60 : กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข33(สุวรรณศร) อ.บ้านนา นครนายก อ.สระแก้ว อ.วัฒนานคร สิ้นสุดทีอ.อรัญประเทศ |
กลุ่มเส้นทางภาคใต้และภาคตะวันตก(สายที่ 61-89)
(อ้างอิงจาก : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DA...D/053/1872.PDF ) สายที่ 61 : กรุงเทพฯ–หาดใหญ่ เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ แยกปฐมพร ระนอง พังงา กระบี่ อ.ห้วยยอด ตรัง พัทลุง สิ้นสุดที่อ.หาดใหญ่ สายที่ 62 : กรุงเทพฯ–ตรัง เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ แยกปฐมพร ระนอง พังงา กระบี่ อ.ห้วยยอด สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดตรัง สายที่ 63 : กรุงเทพฯ–ภูเก็ต เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ แยกปฐมพร ระนอง สามแยกโคกกลอย แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข402 ท่านุ่น ท่าฉัตรไชย อ.ถลาง สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดภูเก็ต สายที่ 64 : กรุงเทพฯ–ระนอง เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดระนอง สายที่ 65 : กรุงเทพฯ–ชุมพร เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ แยกปฐมพร แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข327 สถานีขนส่งจังหวัดชุมพร สายที่ 66 : กรุงเทพฯ–ทับสะแก เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กิโลเมตรที่364 แยกซ้ายไปตามทางหลวงสายทับสะแก สิ้นสุดที่อ.ทับสะแก สายที่ 67 : กรุงเทพฯ–ประจวบคีรีขันธ์ เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี กิโลเมตรที่323 แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข326 สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สายที่ 68 : กรุงเทพฯ-กุยบุรี เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี สิ้นสุดที่อ.กุยบุรี สายที่ 69 : กรุงเทพฯ–สามร้อยยอด เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี สิ้นสุดที่ต.สามร้อยยอด สายที่ 70 : กรุงเทพฯ–ปราณบุรี เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี อ.หัวหิน กิโลเมตรที่256 แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข3168 สิ้นสุดที่ต.ปากน้ำปราณบุรี สายที่ 71 : กรุงเทพฯ–หัวหิน เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี สิ้นสุดที่อ.หัวหิน สายที่ 72 : กรุงเทพฯ–ท่ายาง เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี กิโลเมตรที่183 แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข3170 สิ้นสุดที่อ.ท่ายาง สายที่ 73 : กรุงเทพฯ–เพชรบุรี เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดเพชรบุรี สายที่ 74 : กรุงเทพฯ–บ้านแหลม เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข3178 สิ้นสุดที่อ.บ้านแหลม สายที่ 75 : กรุงเทพฯ–ปากท่อ เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี กิโลเมตรที่129 แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข3093 สิ้นสุดที่อ.ปากท่อ |
สายที่ 76 : กรุงเทพฯ-ราชบุรี
เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดราชบุรี สายที่ 77 : กรุงเทพฯ-โพธาราม เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม กิโลเมตรที่85 แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข3080 สิ้นสุดที่อ.โพธาราม สายที่ 78 : กรุงเทพฯ-ดำเนินสะดวก เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม กิโลเมตรที่83 แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข325 สิ้นสุดที่อ.ดำเนินสะดวก สายที่ 79 : กรุงเทพฯ-ศรีประจันต์ เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม กิโลเมตรที่58.9 แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข321(มาลัยแมน) อ.กำแพงแสน จนถึงสามแยกอู่ยา แล้วแยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข322 อ.ดอนเจดีย์ แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข3038 สิ้นสุดที่อ.ศรีประจันต์ สายที่ 80 : กรุงเทพฯ-สองพี่น้อง เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม กิโลเมตรที่58.9 แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข321(มาลัยแมน) อ.กำแพงแสน กิโลเมตรที่46.7 แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทสายอำเภอสองพี่น้อง สิ้นสุดที่ตลาดบางลี่ สายที่ 81 : กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม จนถึงสามแยกบ้านบึงกระจับ(กิโลเมตรที่ 72.152) แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข323(แสงชูโต) สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี สายที่ 82 : กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม จนถึงสามแยกบ้านบึงกระจับ(กิโลเมตรที่ 72.152) แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข323(แสงชูโต) สิ้นสุดที่อ.บ้านโป่ง สายที่ 83 : กรุงเทพฯ-นครปฐม เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดนครปฐม สายที่ 84 : กรุงเทพฯ-สามพราน เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) กิโลเมตรที่35.840 แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข3098 สิ้นสุดที่อ.สามพราน สายที่ 85 : กรุงเทพฯ-สมุทรสาคร เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) กิโลเมตรที่24.42 แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข3091(เศรษฐกิจ1) อ.กระทุ่มแบน สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดสมุทรสาคร สายที่ 87 : กรุงเทพฯ-สามชุก เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม กิโลเมตรที่58.9 แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข321(มาลัยแมน) อ.กำแพงแสน อ.อู่ทอง สุพรรณบุรี ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข3093 สิ้นสุดที่อ.สามชุก สายที่ 88 : กรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม กิโลเมตรที่58.9 แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข321(มาลัยแมน) อ.กำแพงแสน อ.อู่ทอง สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี สายที่ 89 : กรุงเทพฯ-หลังสวน เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข4(เพชรเกษม) นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ แยกปฐมพร แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข41 อ.สวี สิ้นสุดที่อ.หลังสวน ประกาศ ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2513 พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ ประธานคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง |
มารอดูสาย 98 ว่ามาปีไหน
ส่วน 955 ที่ผ่านปากทางเข้าบ้านนี่น่าจะประมาณ 2530 หุหุหุ :? |
อ่า สำหรับพี่ชัชครับ(สาย 98 ก่อนนะครับ 955 จะตามมาทีหลัง)
ประกาศคณะ กรรมการควบคุมการขนส่งฉบับที่ 268 (พ.ศ.2515) เรื่อง : กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งรถโดยสารประจำทา ง ด้วยรถยนต์โดยสารระหว่างจังหวัด (เฉพาะเริ่มต้นจากจังหวัดพระนคร) สายที่ 98 : กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี(ข) เริ้่มจากสถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข1(พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สระบุรี แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข2(มิตรภาพ) อ.ปากข่อง อ.สีคิ้ว นครราชสีมา แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข24 อ.โชคชัย อ.นางรอง อ.ประโคนชัย อ.ปราสาท อ.สังขะ อ.ขุขันธ์ อ.ขุนหาญ อ.เดชอุดม สิ้นสุดที่สถานีขนส่งจังหวัดอุบลราชธานี ประกาศ ณ วันที่ 5 มกราคม 2515 สิริลักขณ์ จันทรางศุ ปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประธานคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง อ้างอิงจาก : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DA...5/D/005/63.PDF |
ตามความเข้าใจของผมเองนะครับ
การกำหนดเลขสายนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก เป็นผู้กำหนด ส่วนจะใช้หลักเกณฑ์ใดนั้น อันนี้ผมก็ไม่ทราบนะครับ แต่บางครั้งเช่น สาย 3 ถูกยกเลิกไป พอมีเส้นทางใหม่ก็นำเลขสายที่ถูกยกเลิกมาใช้อีก ในขณะเดียวกันก็มีรถหมวด 3 ด้วย เลขสายก็เข้าใจว่าจะไล่ตามภาค เลข1xx ภาคเหนือ เลข 2xx ภาคอีสาน เลข 3xx ภาคกลาง เลข 4xx ภาคใต้ โดยเลขสายน่ากำหนดจากจังหวัดต้นทางว่าอยู่ในภาคใด แต่จากนั้นเส้นทางเดินรถเพิ่มมากขึ้นเรื่อย จึงนำ 5xx 6xx 7xx 8xx มาใช้ก็น่าจะไล่ตามภาคเหมือนเดิม แล้วแต่เดิมที่ทราบมาเลขสายของเส้นทางที่ บขส. วิ่งเอง ขึ้นต้นด้วยเลข 9 ขนส่งทางบกจึงกำหนดเลขสายหมวด2 ที่ บขส. ควบคุมเองให้ขึ้นต้นด้วยเลข 9 เหมือนเดิมมั๊งครับ เพราะเห็นมี 9xx 99xx ส่วนเลขสาย 2 ตัวหลังนั้น ขนส่งทางบกก็คงจะออกเลขตามการยื่นขอออกเส้นทางหรือตา มความจำเป็นมั๊งครับ :) |
955
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 617 พ.ศ.2532 955 กรุงเทพ - โขงเจียม ประกาศ ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2532 ศรีภูมิ ศุขเนตร ปลัดกระทรวงคมนาคม ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง :) |
อ้างถึง:
|
อ้างถึง:
อ่านะ แสดงว่าความจำยังพอใช้ได้ ว่าสาย 955 มาประมาณปี 2530 มาแรกๆเป็นรถพัดลมสีแดง ต่อจากอู่เจ๊เกียว แล้วก็ตามมาด้วย ป.1 ของเชิดชัยทัวร์ ไล่หลังมาประมาณปีหรือสองปี ส่วน ป.2 มาเอาตอนประมาณปี 2536 ช่วงแรกเป็นของศรีสงวนยานยนต์ แต่ตอนนี้กลายเป็นวัฒนสาครทัวร์หมดแล้ว |
ผมจำไม่ผิดว่าเคยมีสมาชิกคนหนึ่ง เคยโพสต์เอาไว้เกี่ยวกับเลขสายรถทัวร์ 3 หลักครับ ลืมแล้วว่าใคร แฮ่ๆ
ทีแรกผมก็คิดนะครับ มีจริงเหรอ...เอาลิงค์ไปดูแผนที่ประกอบไปก่อน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DA.../D/015/457.PDF ลิงค์นี้ก็คือ เส้นทางรถทัวร์ที่ประกาศราชกิจจานุเบกษาในปี 2503 ที่เคยแปะลงในนี้ไปแล้ว วันนี้ผมเข้าไปอ่านหนังสือในหอสมุดแห่งชาติ ที่เทเวศร์ก็เจอฟหนังสือเล่มหนึ่งพอดี เลยจัดการเผยแพร่เสียเลยครับ ดังต่อไปนี้ครับ อัตราค่าโดยสารรถ บขส.(ปี พ.ศ.2503) 0 - 100 กม. กม.ละ 10 สตางค์ 101 - 400 กม. กม.ละ 6 สตางค์ 401 กม. ขึ้นไป กม.ละ 4 สตางค์ ภาค 1 (สายที่ 5) เส้นทางเดินรถภาคตะวันออกเลียบชายฝั่ง 101 กรุงเทพฯ - ฉะเชิงเทรา(สาย 1) ระยะทาง 99 กม. 102 กรุงเทพฯ - ฉะเชิงเทรา(สาย 2) ระยะทาง 78 กม. 103 กรุงเทพฯ - พนัสนิคม ระยะทาง 110 กม. 104 กรุงเทพฯ - ชลบุรี ระยะทาง 97 กม. 105 กรุงเทพฯ - บางละมุง ระยะทาง 142 กม. 106 กรุงเทพฯ - ศรีราชา ระยะทาง 116 กม. 107 กรุงเทพฯ - สัตตหีบ ระยะทาง 177 กม. 108 กรุงเทพฯ - ระยอง ระยะทาง 224 กม. 110 กรุงเทพฯ - จันทร์บุรี ระยะทาง 330 กม. 111 กรุงเทพฯ - ตราด ระยะทาง 399 กม. 112 ชลบุรี - บางละมุง ระยะทาง 46 กม. 113 ชลบุรี - ศรีราชา ระยะทาง 25 กม. 114 ชลบุรี - สัตตหีบ ระยะทาง 84 กม. 115 ชลบุรี - ระยอง ระยะทาง 121 กม. 116 ระยอง - สัตตหีบ ระยะทาง 47 กม. 117 ระยอง - จันทร์บุรี ระยะทาง 103 กม. 118 จันทร์บุรี - ตราด ระยะทาง 72 กม. 119 กรุงเทพฯ - บางคล้า ระยะทาง 130 กม. 120 กรุงเทพฯ - บ้านบึง ระยะทาง 112 กม. 121 กรุงเทพฯ - พนมสารคาม ระยะทาง 130 กม. 122 คลองด่าน - บางปะกง ระยะทาง 26 กม. 123 ฉะเชิงเทรา - พนมสารคาม ระยะทาง 31 กม. 124 ฉะเชิงเทรา - ชลบุรี ระยะทาง 43 กม. 125 กรุงเทพฯ - สามย่าน ระยะทาง 271 กม. 126 ฉะเชิงเทรา - บ้านโพ ระยะทาง 126 กม. 127 ชลบุรี - บางเสร่ ระยะทาง 72 กม. 128 ชลบุรี - ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 43 กม. 129 ฉะเชิงเทรา - บางคล้า ระยะทาง 25 กม. 130 ชลบุรี - วัดเขาบางทราย ระยะทาง 5 กม. 131 ชลบุรี - พนัสนิคม ระยะทาง 24 กม. 132 ชลบุรี - พนัสนิคม ระยะทาง 29 กม. 133 ชลบุรี - อ่างศิลา ระยะทาง 15 กม. 134 ฉะเชิงเทรา - บางปะกง ระยะทาง 24 กม. 135 ชลบุรี - บ้านพลา ระยะทาง 100 กม. 136 สัตตหีบ - บ้านอำเภอ ระยะทาง 19 กม. 137 จันทร์บุรี - สามย่าน ระยะทาง 61 กม. 138 ระยอง - ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 132 กม. 139 ศรีราชา - บางละมุง ระยะทาง 16 กม. 140 บางละมุง - นาจอมเทียน ระยะทาง19 กม. 141 สามย่าน - นายายอำ ระยะทาง 22 กม. 142 ระยอง - บ้านฉาง ระยะทาง 29 กม. 143 ชลบุรี - ท่าสะอ้าน ระยะทาง 25 กม. 145 สามย่าน(แกรง) - ท่าใหม่ ระยะทาง14 กม. 146 พนัสนิคม - วัดโลสถ์ ระยะทาง 7 กม. 147 ชลบุรี - บ้านบึง ระยะทาง 17 กม. 148 ชลบุรี - พานทอง ระยะทาง 17 กม. 149 ชลบุรี - บ่อน้ำร้อน ระยะทาง 18 กม. 150 สามย่าน(แกรง) - ระยอง ระยะทาง 18 กม. 151 ระยอง - แกรง ระยะทาง 18 กม. 153 ระยอง บ้านแพ ระยะทาง ----- จบภาคแรก มีอีกตั้ง 4 ภาคแน่ะ ขอตัวกลับบ้านก่อนเน่อ :) |
ภาค 2 (สายที่ 2) เส้นทางเดินรถภาคเหนือ
201 กรุงเทพฯ – สระบุรี ระยะทาง 108 กม. 202 กรุงเทพฯ – ภาชี ระยะทาง 114 กม. 203 กรุงเทพฯ – ลพบุรี ระยะทาง 154 กม. 204 กรุงเทพฯ – สิงห์บุรี ระยะทาง 180 กม. 205 กรุงเทพฯ – ชัยนาท ระยะทาง 281 กม. 206 กรุงเทพฯ – อุทัยธานี ระยะทาง 307 กม. 208 ลพบุรี – สระบุรี ระยะทาง 45 กม. 209 ลพบุรี – ตาคลี ระยะทาง 103 กม. 210 ลพบุรี – สิงห์บุรี ระยะทาง 26 กม. 211 ลพบุรี – โคกสำโรง ระยะทาง 33 กม. 212 ปากน้ำโพ – ชัยนาท ระยะทาง 61 กม. 214 นครสวรรค์ – อุทัยธานี ระยะทาง 60 กม. 215 ชัยนาท – ตาคลี ระยะทาง 25 กม. 216 สระบุรี – นครราชสีมา ระยะทาง 152 กม. 217 ลพบุรี – นครราชสีมา ระยะทาง 197 กม. 218 สระบุรี – ปากช่อง ระยะทาง 63 กม. 219 สระบุรี – แก่งคอย ระยะทาง 15 กม. 220 สระบุรี – บ้านหมอ ระยะทาง 30 กม. 221 กรุงเทพฯ – บ้านหมี่ ระยะทาง 206 กม. 223 ลพบุรี – บ้านหมี่ ระยะทาง 62 กม. 224 กรุงเทพฯ – พระพุทธบาท ระยะทาง 138 กม. 226 ลพบุรี – พระพุทธบาท ระยะทาง 22 กม. 227 โคกสำโรง – ตาคลี ระยะทาง 70 กม. 228 มีนบุรี – ระยอง ระยะทาง 215 กม. 229 กรุงเทพฯ – ลำนารายน์ ระยะทาง 243 กม. 231 ลพบุรี – ลำนารายน์ ระยะทาง 90 กม. 232 โคกสำโรง – ลำนารายน์ ระยะทาง 54 กม. 233 ตาคลี – ตากฟ้า ระยะทาง 21 กม. 234 นครสวรรค์ – ท่าน้ำอ้อย ระยะทาง 33 กม. 235 โคกสำโรง – หนองม่วง ระยะทาง 19 กม. 236 หนองม่วง – ปากน้ำโพ ระยะทาง 120 กม. 237 กรุงเทพฯ – ท่าลาน ระยะทาง114 กม. 238 สระบุรี – ท่าลาน ระยะทาง 114 กม. 239 ลพบุรี – หนองม่วง ระยะทาง 55 กม. 241 โคกสำโรง – บ้านเพชร ระยะทาง 81 กม. 242 ตาคลี – สะพานเบียง ระยะทาง 7 กม. 243 ปากน้ำโพ – นครสวรรค์ ระยะทาง 3 กม. 244 กรุงเทพฯ – โกรกพระ ระยะทาง ----- 245 พยุหะคีรี – เนินมะกอก ระยะทาง 18 กม. 246 นครสวรรค์ – หนองบอน ระยะทาง 25 กม. 247 กรุงเทพฯ – ลาดยาว ระยะทาง 34 กม. 248 กรุงเทพฯ – หนองตะคลอง ระยะทาง 29 กม. 249 กรุงเทพฯ – หนองสังข์ ระยะทาง 37 กม. 251 อุทัยธานี – มโนรมย์ ระยะทาง 8 กม. |
เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 06:20 PM |
Powered by vBulletin รุ่น 3.6.8 Copyright ©2000-2025, Jelsoft Enterprises Ltd.