Forums

Forums (http://www.rottourthai.com/index.php)
-   คลังความรู้เกี่ยวกับรถทัวร์ไทย (http://www.rottourthai.com/forumdisplay.php?f=25)
-   -   มาทำความรู้จัก "การขนส่งทางบก" กันดีกว่า (http://www.rottourthai.com/showthread.php?t=5525)

BTMCTLA 06-07-2010 07:25 PM

มาทำความรู้จัก "การขนส่งทางบก" กันดีกว่า
 
ประเทศไทยได้ตรากฎหมายว่าด้วยการขนส่งครั้งแรกเมื่อป ี 2497 โดยมีเหตุลผหลักเพื่อผลทางเศรฐกิจ แม้ว่าต่อมาจะมี พ.ร.บ.การขนส่งบก พ.ศ.2522 และยกเลิก พ.ร.บ.ขนส่ง พ.ศ.2497 แต่หลักการก็ยังคงเดิม โดยมีเหตุผลในการประกาศใช้ พรบ.การขนส่งทางบกฉบับใหม่ดังนี้

"เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.นี้ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการขนส่งได้ใช้บังคับมาเป็นเว ลานาน และสภาพการณ์ในปัจจบุนได้เปลี่ยนแปลงไปมาก บทบัญญัติทั้งหลายที่บังคับใช้อยู่ไม่เหมาะกับกาลสมั ย สมควรปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการขนส่งเสียใหม ่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.บ.นี้ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 38 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2522 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2522 เป็นต้นไป"

ฉะนั้น หลักการและเหตุผลที่แท้จริงของกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง จึงเป็นกฎหมายเพื่อความสะดวก แน่นอน เป็นธรรม แก่ผู้ประกอบการขนส่งและผู้ใช้การขนส่งเพื่อผลทางเศร ษฐกิจของประเทศเป็นส่วนรวม ซึ่งตรงกับหลักการของการขนส่งที่ถือกันมาตั้งแต่สมัย แรกเริ่มว่า การขนส่งที่ดี คือ การขนส่งที่มีความสะดวกรวดเร็ว

BTMCTLA 06-07-2010 07:32 PM

ความหมายของคำสำคัญบางคำใน พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 (มาตรา 4)

"รถ" หมายความว่า ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบก ซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้เว้นแต่รถไฟ

"การขนส่ง" หมายความว่า การขนคน สัตว์ หรือสิ่งของโดยทางบกด้วยรถ

"การขนส่งประจำทาง" หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด

"การขนส่งไม่ประจำทาง" หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง

"การขนส่งโดยสารรถขนาดเล็ก" หมายความว่า การขนส่งคนหรือสิ่งของ หรือคนและสิ่งของรวมกันเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะ กรรมการกำหนดด้วยรถที่มีน้ำหนักและน้ำหนักบรรทุกรวมก ันไม่เกิน 4500 กก.

"การขนส่งส่วนบุคคล" หมายความว่า การขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองด้วยรถที่มีน้ ำหนักเดินกว่า 1600 กก.

"การขนส่งระหว่างจังหัวด" หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคล ระหว่างจังหวัดกับจังหวัด

"การขนส่งระหว่างประเทศ" หมายความว่า การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง หรือการขนส่งส่วนบุคคล ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ

"ผู้ตรวจการ" หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจการขนส่ง

"พนักงานตรวจสภาพ" หมายความว่า ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางบก ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจความมั่นคงแข็ง แรง ความสะอาด ความเรียบร้อย และความเหมาะสมของสภาพรถที่นำมาใช้ในการขนส่ง

"นายทะเบียน" หมายความว่า นายทะเบียนกลาง หรือนายทะเบียนประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี

"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง หรือคณะกรรมการควบคุมการขนส่งประจำจังหวัด แล้วแต่กรณ๊

"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมการขนส่งทางบก

"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.บ. นี้

การหมายที่เกี่ยวข้องกับการขับรถ มี 2 ประเภท คือ
- กฎหมายรถยนต์ ได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถแทรกเตอร์ รถแท็กซี่ ฯ
- กฎหมายขนส่ง ได้แก่ รถโดยสาร รถ 6 / 10 ล้อ รถพ่วง รถอันตราย ฯ

เนื่องจากเป็นเว็บรถทัวร์ไทย จะกล่าวถึง "กฎหมายขนส่ง" เพียงอย่างเดียว

BTMCTLA 06-07-2010 07:48 PM

การประกอบการขนส่ง

การประกอบการขนส่งมี 7 ประเภท คือ
1.การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งสินค้าเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการ
กำหนด
2.การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง
3.การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก การขนส่งคน หรือสิ่งของ หรือคนและสิ่งของรวมกันเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะ กรรมการกำหนด ด้วยรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกิน 4500 กก.
4.การขนส่งส่วนบุคคล การขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองด้วยรถที่มีน้ ำหนักเกินกว่า 1600 กก.
5.การขนส่งระหว่างจังหวัด การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางหรือการขนส่งส่วนบุคคล ระหว่างจังหวัดกับจังหวัด
6.การขนส่งระหว่างประเทศ การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางหรือการขนส่งส่วนบุคคล ระหว่างไทยกับต่างประเทศ
7.การรับจัดการขนส่ง การรับจ้างรวบรวมคน สัตว์ สิ่งของ และจัดให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบก ารขนส่ง ทำการขนส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในความรับผิดช อบของผู้รับจัดการขนส่ง

โดยหลักทั่วไปตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
ผู้ที่ประสงค์จะขอประกอบการขนส่งทั้ง 7 ประเภท จะต้องขออนุญาตประกอบการขนส่งต่อนายทะเบียนกลางหรือน ายทะเบียนประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี

BTMCTLA 06-07-2010 08:05 PM

ใบอนุญาตประกอบการขนส่งมีด้วยกัน 4 ประเภท คือ

1.ใบอนญาตประกอบการขนส่งประจำทาง มีอายุ 7 ปี นับตั้งแต่วันออกใบอนุญาต

2.ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง มีอายุ 5 ปี นับตั้งแต่วันออกใบอนุญาต

3.ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก มีอายุ 5 ปี นับตั้งแต่วันออกใบอนุญาต

4.ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล มีอายุ 5 ปี นับตั้งแต่วันออกใบอนุญาต

ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้ใช้เป็นใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลได้ (ข้อ 1,2,3 ใช้แทน 4 ได้)

Namayday 06-07-2010 08:11 PM

อ่า อาจานนัท มาให้ความรู้ทางกฎหมายขนส่งซะแล้ว ดีครับ

จัดหนักเลยครับอาจานนัท มีอะไรผมขออนุญาตเสริมนะครับ

BTMCTLA 06-07-2010 08:21 PM

1.การขนส่งประจำทาง การขนส่งเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.รถบรรทุก (เลขทะเบียน 60-69 ซึ่งหมดไปจากประเทศไทยนานแล้ว)
2.รถโดยสาร (เลขทะเบียน 10-19) แบ่งเป็น 4 หมวด
- เส้นทางหมวด1 หมายถึง เส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารภายใน กทม. เทศบาล เมือง และเส้นทางต่อเนื่อง
- เส้นทางหมวด2 หมายถึง เส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารจากกรุงเทพไปยัง ส่วนภูมิภาค
- เส้นทางหมวด3 หมายถึง เส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารระหว่างจังหวัด หรือคาบเกี่ยวระหว่างจังหวัดในส่วนภูมิภาค
- เส้นทางหมวด4 หมายถึง เส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารในเขตจังหวัด ซึ่งอาจประกอบด้วยเส้นทางสายหลักสายเดียว หรือเส้นทางสายหลักและเส้นทางสายย่อย ซึ่งแยกออกจากเส้นทางสายหลักไปยังอำเภอ หมู่บ้าน หรือเขตชุมชน

2.การขนส่งไม่ประจำทาง ได้แก่
-รถโดยสาร (เลขทะเบียน 30-39)
-รถบรรทุก (เลขทะเบียน 70-79)

3.การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ได้แก่
-รถโดยสาร (เลขทะเบียน 20-29 ขนส่งทางบกกำลังทำให้หมดไป)
-รถบรรทุก (เลขทะเบียน 20-29 ขนส่งทางบกกำลังทำให้หมดไป)

4.การขนส่งส่วนบุคคล ได้แก่
รถโดยสาร (เลขทะเบียน 40-49)
รถบรรทุก (เลขทะเบียน 80-99)

แมวเหม็น 06-07-2010 08:50 PM

เอ่อ....

อ่านแล้วรู้สึก Wow..... ให้เดาต้องพิมพ์เองกับมือแ่น่ๆ...

คิืดว่าน่าจะยังไม่ครบนะ...

แต่ที่แน่ๆก็เป็นข้อมูลได้ดีมาก...

และก็ขอบคุณและนับถือในความพยายามนะ...

จะมาตามอ่านต่อ...

ขอบคุณเจ้า...

acm212 06-07-2010 11:55 PM

ขอบคุณ ข้อมูล ดีๆๆคับ พี่นัท อย่าลึมมาต่อนะค้าบ รอ ชมต่อคับ:)

nikorn 06-08-2010 12:04 AM

:) สุดยอดมากเลยน้องนัท
ได้ความรู้อีกแล้วเรา

ช้อปเปอร์476 06-08-2010 02:55 PM

ได้ความรู้แน่นมากครับ

BTMCTLA 06-11-2010 10:14 PM

สถานีขนส่ง มี 2 ประเภท คือ

1.สถานีขนส่งผู้โดยสาร
2.สถานีขนส่งสัตว์และสิ่งของ แต่ในประเทศไทยมีสถานีขนส่งสิ่งของ (สินค้า) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

สถานีขนส่ง มีใบอนุญาต 20 ปี และต้องต่ออายุล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 ปี


การตรวจสจสภาพรถ การจดทะเบียน การเสียภาษีรถ

การตรวจสภาพรถ
-รถโดยสาร (10/30) กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ตรวจสภาพรถทุก 6 เดือน
-รถบรรทุก กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ตรวจสภาพรถทุก 1 ปี

การเสียภาษี
รถที่อยู่ในกฎหมายขนส่ง กรมการขนส่งทางบกจะเรียกเก็บภาษีตาม น้ำหนักรถ ในการชำระภาษีประจำปีจะต้องชำระล่างหน้าเป็นรายปี โดยแบ่งเป็น 4 งวด งวดละ 3 เดือน โดยถือเดือน มกราคม เมษายน กรกฎาคม ตุลาคม เป็นเดือนแรกของงวด เมื่อเริ่มต้นชำระภาษีงวดใด ก็ให้นับจากงวดนั้นไปจนครบ 4 งวด ถือว่าเป็นการครบปีภาษี และสามารถชำระภาษีเป็นรายงวดได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มตามที่กำหนด

งวดที่ 1 // 1 มกราคม - 31 มีนาคม
งวดที่ 2 // 1 เมษายน - 30 มิถุนายน
งวดที่ 3 // 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน
งวดที่ 4 // 1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม

ถ้าไม่ชำระภาษีในเวลาที่กำหนด ต้องชำระเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนที่ต้องชำระภาษี


กระบวนการของรถ หลังจากซื้อรถคันใหม่มา มีกระบวนการดังนี้
- นำรถไปจดทะเบียน
- ชำระภาษี
- เปลี่ยนแปลง เมื่อทำการดัดแปลงรถ สภาพรถ ต้องแจ้งเปลี่ยนสาระสำคัญ(ส่วนที่ไปดัดแปลง)ของรถด้ว ย
- ย้าย เมื่อต้องการย้ายการจดทะเบียนรถจากขนส่งจังหวัดนี้ไป ยังจังหวัดอื่น
- เลิกใช้ เมื่อจะเลิกใช้รถแล้ว ต้องแจ้งต่อกรมการขนส่งทางบก และต้องชำระภาษีที่ค้างให้ครบ คืนป้ายทะเบียน

BTMCTLA 06-11-2010 10:27 PM

ผู้ประจำรถ
ความหมาย ผู้ประจำรถตาม พ.ร.บ. พ.ศ.2522 หมายถึง บุคคล 4 ประเภท ดังนี้

1.ผู้ขับรถ
2.ผู้เก็บค่าโดยสาร
3.นายตรวจ บุคคลที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ประจำรถ ทุกหน้าที่ และตรวจสอบการชำระค่าโดยสารของผู้โดยสาร
4.ผู้บริการ บุคคลทำหน้าที่เป็นพนักงานต้อนรับ หรือบริกรประจำรถ

ประเภทใบอนุญาตผู้ประจำรถ มี 4 ประเภท ดังนี้

1.ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
2.ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร
3.ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ
4.ใบอนุญาติเป็นผู้บริการ

ใบอนุญาตแต่ละประเภทจะใช้แทนกันไม่ได้
ยกเว้น ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ หรือ ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ หรือ ใบอนุญาตเป็นผู้บริการ สามารถใช้แทน ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร ได้

ใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถ ทั้ง 4 ประเภท มีอายุ 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกใบอนุญาต ต่ออายุล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน

BTMCTLA 06-12-2010 07:46 PM

ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ส่วนบุคคล (ทะเบียนขาว) ใบอนุญาตประเภทนี้ไม่สามารถขับรถรับจ้าง(ทะเบียนเหลื อง)ได้
2.ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ทุกประเภท (ทะเบียนเหลือง) ใบอนุญาตประเภทนี้สามารถขับรถส่วนบุคคล(ทะเบียนขาวได ้)

ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ส่วนบุคคล และ ทุกประเภท แต่ละประเภทแบ่งเป็น 4 ชนิด (ส่วนบุคคล 4 ชนิด // ทุกประเภท 4 ชนิด) ดังต่อไปนี้

ชนิดที่ 1 สำหรับขับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกิน 3500 กก. ที่ไม่ได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือรถขนส่งผู้โดยสารไม่เกิน 20 คน
ชนิดที่ 2 สำหรับขับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกิน 3500 กก. ที่ไม่ได้ใช้ขนส่งผู้โดยสาร หรือรถขนส่งผู้โดยสารเกิน 20 คน
ชนิดที่ 3 สำหรับขับรถซึ่งโดยสภาพใช้สำหรับลากจูงรถอื่น หรือล้อเลื่อนที่บรรทุกสิ่งใดๆบนล้อเลื่อนนั้น
ชนิดที่ 4 สำหรับขุบรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภท หรือชนิดลักษณะการบรรทุกตามที่อธิบดีกรมการขนส่งทางบ กกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

**ใบอนุญาตชนิดที่ 1 ไม่สามารถนำไปใช้แทนชนิดที่ 2/3/4 ได้
**ใบอนุญาตชนิดที่ 2 สามารถนำไปใช้แทนชนิดที่ 1 ได้ แต่นำไปใช้แทนชนิด 3/4 ไม่ได้
**ใบอนุญาตชนิดที่ 3 สามารถนำไปใช้แทนชนิดที่ 1/2 ได้ แต่นำไปใช้แทนชนิด 4 ไม่ได้
**ใบอนุญาตชนิดที่ 4 สามารถนำไปใช้แทนชนิดที่ 1/2/3 ได้
***ใบอนุญาตประเภทส่วนบุคคล และ ทุกประเภท ตามกฎหมายขนส่ง สามารถใช้แทนใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลได้ แต่ไม่สามารถใช้แทนใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ได้

tan588 06-12-2010 08:30 PM

เป็นความรู้ที่ ดีมากๆ ครับ
;)

UBNavigator 06-13-2010 01:29 AM

อยากบอกว่า ที่อุบลเมืองดอกบัว
ไม่เคยเจอรถโดยสารเล็กทะเบียน 20 เลย
จะเล็กจะใหญ่ 10 ทั้งนั้น หุหุหุหุ

:emo_toon08: :emo_toon08:

UN65 06-13-2010 08:57 AM

อ่านแล้วมีความรู้ประดับบารมีเยอะเลยครับ ถ้าจะไปสอบเป็นขนส่งจังหวัดต้องอ่านข้อสอบอาจารย์นัท สอบได้ชัวร์

ช้อปเปอร์476 06-13-2010 09:29 AM

อ้างถึง:

กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ UBNavigator (87692 กระทู้)
อยากบอกว่า ที่อุบลเมืองดอกบัว
ไม่เคยเจอรถโดยสารเล็กทะเบียน 20 เลย
จะเล็กจะใหญ่ 10 ทั้งนั้น หุหุหุหุ

:emo_toon08: :emo_toon08:

แถวแม่สอดมีเยอะครับ

nakoto964 06-13-2010 10:11 AM

ขอก๊อปข้อมูลลงคอมนะคับเอาปริ๊นไว้อ่านคับอาจารย์ :) ;)


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 03:53 PM

Powered by vBulletin รุ่น 3.6.8 Copyright ©2000-2025, Jelsoft Enterprises Ltd.