|
คู่มือการใช้ | รายชื่อสมาชิก | ปฏิทิน | กระทู้ใหม่วันนี้ | ค้นหา |
![]() |
|
คำสั่งเพิ่มเติม | ค้นหาในหัวข้อนี้ | เรียบเรียงคำตอบ |
|
#1
|
||||
|
||||
![]() 5.ทดลองเดินรถโดยสารปรับอากาศเป็นรายแรก
คุณถาวรเล่าให้ฟังว่า “แม้แต่รถปรับอากาศ ผมก็เป็นคนแรกที่สั่งมาวิ่ง คือเรามองดูสภาพทางจากนครสวรรค์ – ลำปาง – เชียงใหม่ มันยังเป็นทางลูกรัง ฝุ่นเยอะ ทำให้คนโดยสารท้อและหันไปขึ้นรถไฟ เราก็มาคิดดูว่า ถ้าเรามีรถยนต์โดยสารปรับอากาศมาวิ่งแล้ว คนก็คงจะหันมานิยมใช้ ดังนั้น ในปี พ.ศ.2510 ผมก็เลยตัดสินใจสั่งรถยนต์โดยสารปรับอากาศมาทดลองวิ่ ง 2 คัน เป็นยี่ห้อฮีโน่ประกอบสำเร็จมาเรียบร้อย ราคาในขณะนั้นคันละ 7 แสนบาท” ![]() “พอเราวิ่ง คนก็เต็มรถ จนทางการรถไฟส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาพบผม 3 คนครับ คือ เขามีกรรมการเกี่ยวกับการจัดการเดินรถอยู่ 7-8 คน เขามาพบผม 3 คน ถามว่า ผมมีจุดมุ่งหมายในการเดินรถปรับอากาศอย่างไร ผมก็ได้ชี้แจงไปว่า ทางรถไฟอาจจะไม่กระทบกระเทือน เพราะรถเรายังน้อย และอีกประการหนึ่ง คนที่มาใช้รถยังคำนึงถึงความปลอดภัย เพราะระยะนั้นรถไฟปลอดภัยกว่า แต่เสียเวลามากกว่า โดยวิ่งกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ในระยะนั้น รถไฟใช้เวลาเดินทางนานถึง 1 วัน ส่วนรถทัวร์ในตอนนั้นใช้เวลาเดินทาง 18 ชั่วโมง เพราะทางยังไม่ดี” ![]() “ปีต่อมา ผมสั่งรถโดยสารปรับอากาศเพิ่มอีก 4 คัน และอีกปีหนึ่งก็สั่งเพิ่มอีก 6 คัน และเราใช้รถยนต์โยสารปรับอากาศอยู่หลายปี ก่อนที่ต่อมาจะเกิดปัญหารถทัวร์ผิดกฎหมาย อันนี้ท่านผู้จัดการลออ และท่านขุนแผน กระหม่อมทอง ทราบดี” 6.ทรรศนะคติเกี่ยวกับปัญหารถผิดกฎหมาย คุณถาวร ให้ทรรศนะเกี่ยวกับปัญหารถทัวร์ผิดกฎหมายว่า สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะบริษัทขนส่ง จำกัด ขยายเส้นทางของบริษัทฯ เองก็ดี หรือของรถร่วมก็ดีช้าเกินไป ไม่ทันต่อความต้องการของประชาชน โดย คุณถาวร มีความเห็นว่า ในบางเส้นทาง ถ้า บขส. ไม่สามารถที่จะขยายได้ ก็ควรให้รถร่วมขยายออกไป ก็จะเป็นการรับกับจำนวนพลเมืองที่เพิ่มขึ้น คุณถาวรเล่าว่า “สมัยที่ผมเป็นกรรมการบริหาร บขส. (บอร์ด บขส.) ผมเคยชี้แจงในที่ประชุมและเคยพูดกับท่านอธิบดีกรมการ ขนส่งทางบก ท่านก็เห็นด้วยว่าปีหนึ่งๆ ควรจะเพิ่มรถให้รถร่วมหรือรถของบริษัทขนส่ง จำกัด อย่างน้อย 5-10% แต่แล้วนโยบายอันนี้ของ บขส. ก็ไม่ได้ทำ” “เพราะฉะนั้น เมื่อเราไปกักเอาไว้จนกระทั่งรถของเราไม่พอแก่ความต้ องการของประชาชน ก็มีคนที่ฉวยโอกาสเอาช่องโหว่อันนี้เข้ามาทำรถทัวร์” ![]() คุณถาวรให้ความเห็นต่อไปว่า “ตานี้ฝ่ายเรา เป็นพวกที่อยู่ในควบคุมตามกฎหมาย ทำตามข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก ทำตามระเบียบของบริษัทขนส่ง จำกัด แต่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายที่ฉวยโอกาสเข้ามา ดังนั้น เมื่อเขาไม่กลัวความผิด ไม่กลัวกฎหมายเขาก็ทำ เมื่อทำไปโดยฝ่าฝืนกฎหมายแล้ว เขาก็ได้เปรียบ” “การปราบปรามก็ไม่ได้รับความร่วมมือในระยะแรก ถ้าได้รับความร่วมมือจากทางตำรวจ ทางบ้านเมือง ปัญหารถผิดกฎหมายก็จะไม่มี” “ในระยะแรก เราปล่อยปละละเลย และทางรัฐบาลก็คิดว่าคล้ายๆ ไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร ปล่อยไปจนกระทั่งรถผิดกฎหมายเต็มบ้านเต็มเมือง” “พอมันเต็มขึ้นมาแล้ว เราจะทำลายลงไป มันก็เสียเศรษฐกิจ ก็เกิดเป็นปัญหาขึ้นมา จำเป็นจะต้องยอมรับคนผิดให้กลายเป็นคนถูก” “ตอนนี้ก็เลยเกิดปัญหาการได้เปรียบเสียเปรียบ เพราะเจ้าของรถร่วมไม่มีโอกาสได้ขยายกิจการ เพราะต้องทำตามกฎข้อบังคับของกรมการขนส่งทางบก และของ บขส. ขณะเดียวกัน ฝ่ายรถทัวร์ผิดกฎหมาย ขยายตัวได้เต็มที่เลย เข้ามาเอาส่วนที่เป็นส่วนเกินเอาไปหมดเลยแล้ว ยังเกินแก่ความต้องการด้วยซ้ำในเวลานี้” “ถ้าเราจะยึดเอารถพวกนี้ ซึ่งหมายถึงรถทัวร์ผิดกฎหมาย ไปทำลายเสีย ก็จะเป็นการทำลายเศรษฐกิจ มันก็เกิดเป็นปัญหาเข้ามา เราก็ต้องยอมรับสภาพ” “เมื่อยอมรับสภาพของเขาเข้ามาแล้ว ผมว่าควรจัดให้ฝ่ายเจ้าของรถร่วมให้เขาอยู่ได้ เขาเลี้ยงตัวได้ สมมติเอาง่ายๆ เลยว่า อย่างเมื่อมีการประชุมสมัยรัฐบาลเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และท่านรัฐมนตรีประสงค์ ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก่อนที่จะรวมกัน ผมก็เข้าประชุมด้วย ผมก็ยกตัวอย่างให้ที่ประชุมฟังว่า เวลานี้อย่างกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ มีผมกับบริษัทยานยนต์นครสวรรค์(ทันจิตต์ทัวร์) ที่วิ่งอยู่ทั้ง 2 บริษัท ระยะนั้น มีรถที่ทำสัญญาเป็นรถร่วมกับ บขส. เพียงบริษัทละ 4 คัน รวมเป็น 8 คัน เพราะว่าบริษัทขนส่ง จำกัด ไม่ยอมขยายให้ แต่รถทัวร์ที่ทำผิดกฎหมายเอามาวิ่งอยู่ 70 กว่าคันแล้ว ถ้าเรายอมรับเอาไว้ 70 คันมาหมุนเวียนคิวกับผมกับยานยนต์นครสวรรค์ ก็พอดีเลย เดือนหนึ่งๆ ผมจะวิ่งเพียงเที่ยวเดียว หรืออาจจะไม่ได้วิ่งเลย” “คนที่ทำถูกกฎหมายมาตลอด อยู่ในข้อบังคับ แต่กลายเป็นผู้ที่เสียเปรียบ แล้วกับคนที่ทำผิดกฎหมาย กลายเป็นผู้ที่ชุบมือเปิบ ไม่ยุติธรรมกับพวกผม” “ทางที่ประชุมก็เลยบอกว่าไม่ได้ ถ้าอย่างนั้นแล้ว ก็ควรจะกำหนดออกมาใหม่ รัฐมนตรีประสงค์ท่านก็บอกว่า รถทั้งหมดควรจะจัดเป็นรูปนิติบุคคล โดยให้รถทัวร์ผิดกฎหมายรวมกันขึ้น มาเป็นรูปแบบบริษัท โดยยกตัวอย่างเช่น ให้เป็นบริษัทขนส่ง จำกัด บริษัทถาวรฟาร์ม จำกัด และบริษัทยานยนต์นครสวรรค์ จำกัด และให้รถทัวร์ผิดกฎหมายรวมกันเป็นบริษัทจำกัด จึงจะมีทั้งหมด(ในเส้นทางหนึ่งๆ ) รวมทั้งหมด 4 บริษัท และจะห้ามไม่ให้เกิน 4 บริษัท หมุนคิวกันโดย จะเอาจำนวนรถมาบีบเจ้าของรถร่วมเดิมไม่ได้” “ในระยะหลัง ทางบริษัทขนส่ง จำกัด เขาก็เริ่มเพิ่มจำนวนรถมาให้อะไร มาให้ตามข้อเท็จจริง แต่ว่าการรวมตัวเวลานี้ ทางรถทัวร์เขาก็พยายามเกี่ยง คือเกี่ยงของเขาก็เพื่อ 2-3 อย่างได้แก่ 1. ทางบริษัทขนส่ง จำกัด เก็บเงินค่าเส้นทาง เขาไม่อยากเสียอันนี้ข้อหนึ่ง เขาก็พยายามต่อสู้ 2. เขาพยายามเอารัดเอาเปรียบเจ้าของรถร่วมที่มีอยู่เดิม “เพราะฉะนั้น ปัญหานี้อาจจะต้องเจรจากันอีกนาน คือจะแยกออกเป็นอิสระก็ดี หรือว่าจะร่วมวิ่งกันกับบริษัทขนส่ง จำกัด ก็ดี ก็ยังมีปัญหาข้างหน้าอีกเยอะ” |
#2
|
||||
|
||||
![]() 7.ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงอัตราค่าโดยสาร
คุณถาวรให้ความเห็นไว้ว่า “ที่ผ่านมา อัตราค่าโดยสารได้ขึ้นครั้งหนึ่ง แต่น้ำมันได้ขึ้นมา 3-4 ครั้ง ได้ปรับอัตราค่าโดยสารครั้งหนึ่งมาแล้ว เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2522 เราได้ขอเพิ่มค่าโดยสารเพียงกิโลเมตรละ 4 สตางค์ ในขณะที่ราคาน้ำมันขึ้นไปเกือบๆ เท่าตัว ระยะนั้นขึ้นไปรู้สึกว่าประมาณ 2 บาทกว่า ![]() “พอเราขอไปก็พอดีเปลี่ยนรัฐบาล เราก็รอรัฐบาลใหม่ (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น) รัฐบาลใหม่ก็รับไปพิจารณาว่าจะให้กิโลเมตรละ 3 สตางค์ แต่ต้องรอให้ทางองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ(ขสมก.) ขึ้นราคาก่อน แล้วพอหลังจากขึ้นให้ ขสมก. แล้ว ก็ขอให้การรถไฟขึ้นราคาก่อน แล้วจึงจะขึ้นค่าโดยสารรถทัวร์ให้” ![]() “ผมเข้าใจว่าทางรัฐบาลต้องการถ่วงอันนี้ไว้ โดยให้มีการน้ำมันเดือนมกราคม 2524 นี้อีกครั้งก่อน แล้วจึงจะอนุญาตอันนี้ออกมา เพื่อจะไม่ให้รถขนส่งของเราขอเพิ่มขึ้นมาอีก ผมคิดว่าเป็นนโยบายของรัฐบาล จึงถ่วงเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2522” 8.ทำงานให้กับสังคม นอกจากคุณถาวร นิโรจน์ จะเป็นเจ้าของและเป็นประธานกรรมการบริษัทถาวรฟาร์ม จำกัดแล้ว คุณถาวรยังเป็นนายกเทศมนตรีของเทศบาลเมืองนครสวรรค์อ ีกด้วย คุณถาวรได้ตอบข้อซักถามในชีวิตด้านนี้ว่า... “เราก็สร้างครอบครัวจนเป็นปึกแผ่นแล้ว ในด้านการศึกษาของลูก เราก็ได้ให้การศึกษาอย่างดีที่สุดหมดทุกคนแล้ว และเขาก็โตแล้ว พอจะเริ่มประกอบอาชีพได้ เราก็ควรจะมอบงานให้เขาทำเพื่อเป็นการฝึกและเป็นการห าประสบการณ์ ผมก็เลยคิดว่ามันถึงเวลาควรที่จะต้องทำงานให้กับสังค ม เพราะว่าในเมื่อเราประกอบอาชีพส่วนตัวของเราจนสำเร็จ เป็นปึกแผ่นแล้ว ก็มีอยู่ว่าในด้านสังคม เราก็ควรจะให้มากขึ้น ผมก็เลยตัดสินใจเข้ารับหน้าที่ตำแหน่งนายกเทศมนตรี ![]() ความจริงชีวิตทางการเมืองและการรับใช้สังคมของคุณถาว รนี้ได้พยายามเริ่มต้นมาแล้วเมื่ออายุ 24 ปี แต่ไม่สำเร็จ โดยคุณถาวรเล่าว่า “เดิมเลยในตอนที่ผมเริ่มมาประกอบอาชีพ ผมก็ไปสมัครเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองนครสวรรค์ ในระยะนั้นเขากำหนดให้มีอายุ 25 ปี ถึงจะมีสิทธิ์สมัครได้ ผมไปเขียนใบสมัครเสร็จแล้วอายุ 24 ปี ปลัดเทศบาลบอกว่ารับสมัครไม่ได้ ก็เลยไม่ได้สมัครมาครั้งหนึ่ง” “ต่อมาอีกสมัยหนึ่ง (ระยะนั้นเป็นสมาชิกสภาเทศบาลกันสมัยละ 5 ปี) เขามีการสมัครรับเลือกตั้ง ผมก็ไปเขียนใบสมัครอีก ปรากฏว่าตอนนั้นผมมีอายุเกิน 25 ปีแล้ว แต่เขาก็บอกว่าไม่ได้หรอก ก็เพราะว่าเขากำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครใหม่ เป็นอายุ 30 ปี ผมก็เลยไม่ได้สมัครอีก” ![]() “พอมาถึงปี พ.ศ.2500 ก็มีประกาศใหม่ เปลี่ยนเป็นว่าเพียงผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว อายุ 22 ปีก็สมัครได้ ผมก็เลยไปสมัคร ในตอนนั้นอายุ 29 ปี (แสดงว่าลุงถาวร เกิดปี พ.ศ.2471) พอสมัครแล้วผมก็ได้รับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาเทศบาล(สท.) และได้ถูกขอร้องให้เป็นเทศมนตรี แต่ไม่สามารถที่จะรับตำแหน่งนี้ได้ เพราะจะต้องประกอบอาชีพ” ดังนั้น ชีวิตด้านการรับใช้สังคมจึงเริ่มแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และขณะนี้ ได้ตกลงใจจะอุทิศตนเองให้กับการทำงานให้กับสังคมอย่า งเต็มที่แล้ว |
#3
|
||||
|
||||
![]() 9.เปรียบเทียบลักษณะการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐก ับธุรกิจเอกชน
คุณถาวรได้อรรถาธิบายจากประสบการณ์อันยาวนานว่า “เราอยู่ในวงการงานของเทศบาลมาถึง 23 ปี(ตั้งแต่ปี 2500) เป็นสมาชิกสภาเทศบาลติดต่อกันมา เราก็ศึกษางานในนั้นพอจะรู้ปัญหา แต่ระเบียบปฏิบัติราชการ เขาจำเป็นที่จะต้องวางเอาไว้ให้เรา เพราะว่าคนทั้งประเทศมีทั้งคนดีและคนไม่ดี ถ้าหากเขาปล่อยให้บางสิ่งบางอย่างเกิดช่องโหว่ขึ้นมา มันก็เกิดปัญหาคอรัปชั่น จึงได้จำเป็นต้องวางระเบียบไว้ให้รัดกุม เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะไปทำงานให้เร็วเหมือนอย่างธุรกิจของเรา มันก็ย่อมทำไม่ได้” ![]() “เวลานี้ผมก็เดินทางสายกลาง เพราะว่างานบางอย่างในบริษัทของเราเมื่อตัดสินใจแล้ว อาจจะสั่งวันนี้ พรุ่งนี้เสร็จเลยก็ได้หรือตัดสินใจว่าเราต้องการอย่า งนี้ พรุ่งนี้เราก็สั่งซื้อเลย ในด้านงานเทศบาลเราจะทำอย่างนั้นไม่ได้ ถ้าเราตัดสินใจแล้ว เราก็ต้องดูระเบียบ วิธีการซื้อก็ต้องประกวดราคา สืบราคาอะไรออกมา แทนที่เราจะสามารถทำงานให้เสร็จภายใน 1-2 วัน บางทีก็ต้องใช้เวลาเป็นเดือน” ![]() “เพราะฉะนั้น ในด้านธุรกิจกับในด้านราชการ มันอาจจะต้องช้ากว่ากัน เวลานี้ผมพยายามปรับให้เหลือสายกลาง คือพยายามให้เร็วขึ้น เพ่อให้มันต่อเหตุการณ์ คือมันให้คล่องตัวขึ้นมา” 10.บทสรุปและเคล็ดลับในการสร้างความสำเร็จในชีวิต จากการศึกษาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ของคุณถาวร จะเห็นได้ว่าคุณถาวร เป็นคนที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในชีวิตท่านหนึ่ง ที่สร้างตนเองขึ้นมาจากลำแข้งและน้ำพักน้ำแรงของตนเอ ง และเป็นตัวอย่างของชีวิตการต่อสู้ของเจ้าของรถร่วม บขส. รายหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยมาศึกษา ![]() ต่อคำถามเกี่ยวกับเคล็ดลับในการสร้างความสำเร็จในชีว ิต คุณถาวรก็ไม่ได้ปิดบังเลยแม้แต่น้อย โดยได้ให้อรรถาธิบายว่า เงื่อนไขประการต่างๆ ที่ทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จได้นั้น ระบุว่าต้องประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ดังนี้ คือ 1. เราต้องมีจุดมุ่งหมายในชีวิต 2. เสร็จแล้วเราก็ต้องเริ่มประกอบอาชีพ 3. ในการประกอบอาชีพจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ คือ.- - ขยัน - ต้องต่อสู้ ไม่ท้อถอย - การตัดสินใจ ต้องพิจารณาความเหมาะสมโดยยึดถือการเดินทางสายกลาง - สร้างความไว้วางใจให้ลูกค้า - สร้างเครดิต(ความน่าเชื่อถือ) - มีความซื่อสัตย์ - เป็นคนตรงต่อเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องเงิน จบการนำเสนอบทสัมภาษณ์พิเศษ คุณถาวร นิโรจน์ เจ้าของถาวรฟาร์ม โดย บขส. ซึ่ง ณ เวลานี้คุณถาวร นิโรจน์ ได้ล่วงลับไปจากโลกนี้ ด้วยโรคมะเร็งตับครับ สำหรับกิจการเดินรถของถาวรฟาร์มในปัจจุบัน มีเส้นทางเดินรถหลายสายประกอบด้วย สาย 95 กรุงเทพฯ - นครสวรรค์ สาย 962 กรุงเทพฯ - เชียงของ สาย 114 นครสวรรค์ - กำแพงเพชร สาย 115 นครสวรรค์ - ตาก สาย 118 นครสวรรค์ - เชียงใหม่ สาย 119 นครสวรรค์ - คลองขลุง สาย 566 นครสวรรค์ - ขอนแก่น สาย 572 พิษณุโลก - นครราชสีมา สาย 657 นครสวรรค์ - สุโขทัย สาย 662 พิษณุโลก - เชียงราย สาย 663 นครสวรรค์ - เชียงราย สาย 665 นครสวรรค์ - ลานกระบือ สาย 694 นครสวรรค์ - น่าน ![]() หากใครจะนำบทความชิ้นนี้ ไปเผยแพร่ต่อที่เว็บอื่น เอาไปเผยแพร่เราไม่ว่า ขอเพียงแค่ให้เครดิตเจ้าของข้อมูลด้วยนะครับ เพราะเจ้าของข้อมูล ได้สละทั้งเวลา ทุนทรัพย์ต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลตรงนี้ ผมทำด้วยใจเพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้อ่านทุกท่าน โปรดให้เกียรติกันด้วยนะครับ จะแสดงความคิดเห็นอย่างไร เชิญตามสะดวกเลยครับ ขอบคุณครับ ![]() |
#4
|
|||
|
|||
![]() ถาวรฟาร์ม
หมดคุณถาวร ตัวบริษัทก็หมดกัน วัฏจักรชีวิต มีขึ้นแล้วก็มีลง มีเริ่มต้นก็มีสิ้นสุด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ![]() |
#5
|
||||
|
||||
![]() น้องพงษ์ครับ
ขอบคุณมากสำหรับประวัติของถาวรฟาร์ม ที่แท้ก็มีที่มาจากฟาร์มไก่ไข่นกกระทานี่เอง ถาวรฟาร์ม จดทะเบียนเป็นบริษัทในปี 2506 ก่อนผมเกิด 1 ปี ผมเติบโตมาพร้อมๆกับถาวรฟาร์ม และ บขส. เห็นวิวัฒนาการของบริษัททั้งสองนี้มาตลอดเท่าที่พอจะ จำความได้ สมัยก่อนนี้ใครจะเดินทางภาคเหนือ ก็เขาหละครับ ถาวรฟาร์ม ถาวรฟาร์มเท่านั้นครับ น้องพงษ์ เป็นนักค้นคว้า อุตส่าห์หาข้อมูลเก่าๆมาให้พวกเราได้อ่านกัน ท่าทางจะเป็นนักประวัติศาสตร์ หรือไม่ก็นักโบราณคดี ผมเองชื่นชอบผลงานของน้องพงษ์มาโดยตลอด ตั้งแต่ผมเข้ามาในเวปนี้ใหม่ๆ ผมเลยอยากถือโอกาสนี้ตั้งชื่อ หรือให้สมญานามน้องพงษ์เพื่อเป็นเกียรติประวัติครับ ขอให้สมญานามน้องพงษ์ ว่า "น้องพงศาวดาร" ครับ ผมว่าชื่อนี้ สำหรับน้องพงษ์แล้ว มันใช่เลยครับ |
#6
|
||||
|
||||
![]() ![]() ที่ถาวรฟาร์มต้องหายไปจากสาย 18 อย่างไรเสียก็ต้องยกย่อง ถาวรฟาร์ม ที่เป็นผู้บุกเบิกเส้นทาง กรุงเทพ-เชียงใหม่ สุดท้ายนี้ก็ขอไว้อาลัยแด่คุณ ถาวร นิโรจน์ ที่ล่วงลับไปแล้ว |
#7
|
||||
|
||||
![]() น้องพงษ์เชื่อหรือไม่พอพี่นู๋พลอยเกิดมาจำความได้ก้อ ได้ยินชื่อ "ถาวรฟาร์ม" แล้ว สมัยพ่อพี่นู๋พลอยขึ้นไปภาคเหนือ เวลาลูกๆ ไปส่งที่หมอชิต(เก่า) ด้วยความสงสัยนะว่าไปยังงัย พ่อก้อบอกว่าไป "ถาวรฟาร์ม" ตลอด
ดีใจกับน้องพงษ์ที่ชงเรื่องนี้ได้สำเร็จ และคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับเวป รถทัวร์ไทย แน่ๆ ยกนิ้วให้เลย "นายเยี่ยมมาก" ![]()
__________________
RotTourThai สายแข็งตะวันออก (อมตะนคร) |
![]() |
|
|