|
คู่มือการใช้ | รายชื่อสมาชิก | ปฏิทิน | กระทู้ใหม่วันนี้ | ค้นหา |
![]() |
|
คำสั่งเพิ่มเติม | ค้นหาในหัวข้อนี้ | เรียบเรียงคำตอบ |
|
#1
|
|||
|
|||
![]() ใบอนุญาตประกอบการขนส่งมีด้วยกัน 4 ประเภท คือ
1.ใบอนญาตประกอบการขนส่งประจำทาง มีอายุ 7 ปี นับตั้งแต่วันออกใบอนุญาต 2.ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง มีอายุ 5 ปี นับตั้งแต่วันออกใบอนุญาต 3.ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก มีอายุ 5 ปี นับตั้งแต่วันออกใบอนุญาต 4.ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล มีอายุ 5 ปี นับตั้งแต่วันออกใบอนุญาต ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้ใช้เป็นใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลได้ (ข้อ 1,2,3 ใช้แทน 4 ได้) |
#2
|
||||
|
||||
![]() อ่า อาจานนัท มาให้ความรู้ทางกฎหมายขนส่งซะแล้ว ดีครับ
จัดหนักเลยครับอาจานนัท มีอะไรผมขออนุญาตเสริมนะครับ |
#3
|
|||
|
|||
![]() 1.การขนส่งประจำทาง การขนส่งเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.รถบรรทุก (เลขทะเบียน 60-69 ซึ่งหมดไปจากประเทศไทยนานแล้ว) 2.รถโดยสาร (เลขทะเบียน 10-19) แบ่งเป็น 4 หมวด - เส้นทางหมวด1 หมายถึง เส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารภายใน กทม. เทศบาล เมือง และเส้นทางต่อเนื่อง - เส้นทางหมวด2 หมายถึง เส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารจากกรุงเทพไปยัง ส่วนภูมิภาค - เส้นทางหมวด3 หมายถึง เส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารระหว่างจังหวัด หรือคาบเกี่ยวระหว่างจังหวัดในส่วนภูมิภาค - เส้นทางหมวด4 หมายถึง เส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารในเขตจังหวัด ซึ่งอาจประกอบด้วยเส้นทางสายหลักสายเดียว หรือเส้นทางสายหลักและเส้นทางสายย่อย ซึ่งแยกออกจากเส้นทางสายหลักไปยังอำเภอ หมู่บ้าน หรือเขตชุมชน 2.การขนส่งไม่ประจำทาง ได้แก่ -รถโดยสาร (เลขทะเบียน 30-39) -รถบรรทุก (เลขทะเบียน 70-79) 3.การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ได้แก่ -รถโดยสาร (เลขทะเบียน 20-29 ขนส่งทางบกกำลังทำให้หมดไป) -รถบรรทุก (เลขทะเบียน 20-29 ขนส่งทางบกกำลังทำให้หมดไป) 4.การขนส่งส่วนบุคคล ได้แก่ รถโดยสาร (เลขทะเบียน 40-49) รถบรรทุก (เลขทะเบียน 80-99) |
#4
|
||||
|
||||
![]() เอ่อ....
อ่านแล้วรู้สึก Wow..... ให้เดาต้องพิมพ์เองกับมือแ่น่ๆ... คิืดว่าน่าจะยังไม่ครบนะ... แต่ที่แน่ๆก็เป็นข้อมูลได้ดีมาก... และก็ขอบคุณและนับถือในความพยายามนะ... จะมาตามอ่านต่อ... ขอบคุณเจ้า... |
#5
|
||||
|
||||
![]() ขอบคุณ ข้อมูล ดีๆๆคับ พี่นัท อย่าลึมมาต่อนะค้าบ รอ ชมต่อคับ
![]() |
#6
|
||||
|
||||
![]() ![]() ได้ความรู้อีกแล้วเรา |
#7
|
||||
|
||||
![]() ได้ความรู้แน่นมากครับ
__________________
รถทัวร์ไทยสายตะวันออก((บางละมุง)) |
#8
|
|||
|
|||
![]() สถานีขนส่ง มี 2 ประเภท คือ
1.สถานีขนส่งผู้โดยสาร 2.สถานีขนส่งสัตว์และสิ่งของ แต่ในประเทศไทยมีสถานีขนส่งสิ่งของ (สินค้า) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น สถานีขนส่ง มีใบอนุญาต 20 ปี และต้องต่ออายุล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 ปี การตรวจสจสภาพรถ การจดทะเบียน การเสียภาษีรถ การตรวจสภาพรถ -รถโดยสาร (10/30) กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ตรวจสภาพรถทุก 6 เดือน -รถบรรทุก กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ตรวจสภาพรถทุก 1 ปี การเสียภาษี รถที่อยู่ในกฎหมายขนส่ง กรมการขนส่งทางบกจะเรียกเก็บภาษีตาม น้ำหนักรถ ในการชำระภาษีประจำปีจะต้องชำระล่างหน้าเป็นรายปี โดยแบ่งเป็น 4 งวด งวดละ 3 เดือน โดยถือเดือน มกราคม เมษายน กรกฎาคม ตุลาคม เป็นเดือนแรกของงวด เมื่อเริ่มต้นชำระภาษีงวดใด ก็ให้นับจากงวดนั้นไปจนครบ 4 งวด ถือว่าเป็นการครบปีภาษี และสามารถชำระภาษีเป็นรายงวดได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มตามที่กำหนด งวดที่ 1 // 1 มกราคม - 31 มีนาคม งวดที่ 2 // 1 เมษายน - 30 มิถุนายน งวดที่ 3 // 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน งวดที่ 4 // 1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม ถ้าไม่ชำระภาษีในเวลาที่กำหนด ต้องชำระเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนที่ต้องชำระภาษี กระบวนการของรถ หลังจากซื้อรถคันใหม่มา มีกระบวนการดังนี้ - นำรถไปจดทะเบียน - ชำระภาษี - เปลี่ยนแปลง เมื่อทำการดัดแปลงรถ สภาพรถ ต้องแจ้งเปลี่ยนสาระสำคัญ(ส่วนที่ไปดัดแปลง)ของรถด้ว ย - ย้าย เมื่อต้องการย้ายการจดทะเบียนรถจากขนส่งจังหวัดนี้ไป ยังจังหวัดอื่น - เลิกใช้ เมื่อจะเลิกใช้รถแล้ว ต้องแจ้งต่อกรมการขนส่งทางบก และต้องชำระภาษีที่ค้างให้ครบ คืนป้ายทะเบียน |
#9
|
|||
|
|||
![]() ผู้ประจำรถ
ความหมาย ผู้ประจำรถตาม พ.ร.บ. พ.ศ.2522 หมายถึง บุคคล 4 ประเภท ดังนี้ 1.ผู้ขับรถ 2.ผู้เก็บค่าโดยสาร 3.นายตรวจ บุคคลที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ประจำรถ ทุกหน้าที่ และตรวจสอบการชำระค่าโดยสารของผู้โดยสาร 4.ผู้บริการ บุคคลทำหน้าที่เป็นพนักงานต้อนรับ หรือบริกรประจำรถ ประเภทใบอนุญาตผู้ประจำรถ มี 4 ประเภท ดังนี้ 1.ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ 2.ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร 3.ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ 4.ใบอนุญาติเป็นผู้บริการ ใบอนุญาตแต่ละประเภทจะใช้แทนกันไม่ได้ ยกเว้น ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ หรือ ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ หรือ ใบอนุญาตเป็นผู้บริการ สามารถใช้แทน ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร ได้ ใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถ ทั้ง 4 ประเภท มีอายุ 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกใบอนุญาต ต่ออายุล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน |
![]() |
|
|