|
คู่มือการใช้ | รายชื่อสมาชิก | ปฏิทิน | กระทู้ใหม่วันนี้ | ค้นหา |
![]() |
|
คำสั่งเพิ่มเติม | ค้นหาในหัวข้อนี้ | เรียบเรียงคำตอบ |
|
#1
|
|||
|
|||
![]() ลงเขาด้วย N หรือเนี่ย :emo_toon08: ![]() |
#2
|
|||
|
|||
![]() บขส บางคันไม่เบาเลยนะ ลงทุนแต่งเครื่องเสียงแต่งรถ ถ้ามีห้องน้ำ แจ่มสู้เอกชนได้แน่ พขร ก้อใจดี อีกต่างหาก
![]() |
#3
|
||||
|
||||
![]() สวยงามคับ วิ่งเรียบทะเลเลย แล้วที่บอกว่าวิ่งสลับนี่สลับกับเจ้าไหนหรอคับ
|
#4
|
||||
|
||||
![]() อ้างถึง:
![]() |
#5
|
||||
|
||||
![]() คือมันเป็นอย่างนี้ครับ เอก
พขร.รถของ บขส.(สายใต้)เกือบทุกคัน(อาจรวมถึงรถเอกชนสายใต้บางเ จ้าด้วย) เขาจะประหยัดน้ำมันด้วยการใส่เกียร์ว่าง แล้วปล่อยรถไหลครับ ในภูมิประเทศที่เป็นเนิน หรือเป็นภูเขา หลังจากเร่งขึ้นเนินแล้ว ขาลงเขามักจะปล่อยเกียร์ว่างด้วยสาเหตุต้องการประหยั ดน้ำมัน เพราะน้ำมันส่วนที่เหลือเมื่อถึงปลายทางแล้ว เอาไปขายคืนบริษัทได้ เป็นนโยบายรณรงค์ให้ขับแบบประหยัดน้ำมันมากที่สุด การใส่เกียร์ว่างแล้วปล่อยไหล จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดามากสำหรับรถ 99 999 สายใต้ครับ ถ้าใครช่างสังเกตุสักหน่อย(แบบผม) จะได้ยินเสียงเครื่องยนต์หายไปเป็นช่วงๆ นั่นคือการใช้โหมดเกียร์ว่างครับ แต่บางกรณีการใส่เกียร์ว่างอาจไม่ปลอดภัยก็ได้ เช่นกรณีลงเขาชันๆอย่างในรูปนี้ ผมว่าลักษณะทางลงเขาหัวช้างแถวๆอำเภอขนอม เท่าที่จำได้ทางลงค่อนข้างชันนะครับ (แต่ความชันน้อยและระยะทางสั้นกว่าลงขุนตานมาก) ควรจะใส่เกียร์ประคองความเร็วรถไว้ แต่อย่างไรก้ตาม รถโดยสารปัจจุบันมีระบบเบรคไฟฟ้า Retarder ช่วยคอยประคองความเร็วไว้ พขร.ท่านนี้ก็อาจใช้โหมดเกียร์ว่างลงเขาลูกนี้มา โดยแตะ Retarder ประคองไว้เบาๆก็เป็นไปได้ ไม่ถือว่าอันตรายหรือผิดกติกาแต่อย่างใดครับ จึงเรียนมาเพื่อทราบตามที่ผมพอจะมีความรู้และประสบกา รณ์อยู่บ้างครับ *หมายเหตุ - เรื่องขายน้ำมันคืน ผมได้ข้อมูลจากการพูดคุยกับ พขร.รถ 999 ท่านหนึ่งเมื่อเกือบสามปีมาแล้วนะครับ ปัจจุบันจะยังมีการขายน้ำมันคืนอยู่หรือไม่ ผมไม่ยืนยันครับ
__________________
สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร new scannia opticriuse รถทัวร์ไทยสายแข็งโป๊กปทุม1
|
#6
|
||||
|
||||
![]() ขอบคุณสำหรับรีวิวค่ะ น่านั่งเนอะเสียตรงไม่มีห้องน้ำและจอดบ่อย
พ่อพี่เคยนั่ง ม.2 ลงนครฯ (หนนั้นเนื่องจากตื่นสาย ตอนกลางวันสายใต้มีแต่ ม.2) นั่งซะเมื่อยพอตอนเย็นถึงชุมพรเลยต้องโทรเรียกอาเขยม ารับ |
#7
|
||||
|
||||
![]() อ้างถึง:
![]() |
#8
|
||||
|
||||
![]() อ้างถึง:
น้า พขร บอก เวลา ลง เนินหรือ ทางชัน ที่ไม่มาก จะใส่เกียรว่างและไม่เยียบคันเร่งส่งครับ ส่วนในภาพ พขร ใช้รีทาดคอยช่วย อยู่ครับ ![]() |
#9
|
|||
|
|||
![]() ขอร่วมแชร์ความรู้เรื่องเจ้า Benz Ibc 2036 หน่อยนะครับ
ผมเคยมีโอกาสครั้งหนึ่งได้พูดคุยกับ พขร สายน่าน ไดความรู้มาว่า Benz Ibc 2036 ที่อยู่ในรถมาตรฐาน ม4ค ของ บขส. มีอยู่ 2 รุ่น ด้วยกัน 1.หมายเลข Xxx-1669 ถึง Xxx-1702 สังเกตได้จากตัวเลขที่เป็นลายไทย 2.หมายเลข Xxx-1703 ถึง Xxx-1746 ตัวเลขจะเป็นลักษณะหนาๆ ครับ (**ข้อมูลหมายเลขรถผมเสริมเองนะครับเนื่องผมรวบรวมไว ้**) ถามว่า 2 รุ่นนี้ต่างกันไหม ตอบได้เลยครับว่าต่าง -เครื่องยนต์เป็น Benz Ibc 2036 เหมือนกัน พขร.แกบอกว่า ตอนที่แกได้อบรมเทคนิคการขับขี่ จากช่าง Benz บอกว่า รุ่นที่ 1 จะแรงกว่ารุ่นที่ 2 ครับ แต่นิดเดียวไม่มาก ในด้านของแรงบิดของเครื่องยนต์เท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมด (มีเพื่อนสมาชิกคนหนึ่งบอกว่า รุ่นที่ 2 เรียกว่า Ibc 2436 ข้อมูลตรงนี้ยังไม่มั่นใจครับ ขอศึกษาอีกนิดหนึ่ง) (ความคิดส่วนตัวเข้าใจว่าเครื่องยนต์รุ่นแรกไม่มีการ ผลิตแล้ว จึงพัฒนามาเป็นรุ่นที่ 2 แทนครับ) 2.ตัวถังและภายในของรถแตกต่างกันจากรุ่นที่ 1 ไปเป็นรุ่นที่ 2 ดังนี้ครับ -มีการลดความสูงของตัวถังรถบริเวณชั้น 2 ครับ - เมื่อตัวถังเตี้ยลงจำเป็นต้องย้ายเครื่องฟอกอากาศจาก ตรงกลางทางเดินไปอยู่ด้านข้างทางเดิน - มีการลดเบาะตรงบริเวณประตูทางออกฉุกเฉินออก 2 ที่นั่ง - ลดประตูฉุกเฉินให้มีขนาดเล็กลง - เปลี่ยนทีวีเป็นจอแอลซีดี - และเปลี่ยนที่นั่งจากสีฟ้าเป็นสีแดงครับ คราวนี้มาพูดถึงอออฟชั่นของรถรุ่นนี้นะครับ 1. ระบบเบรคไฟฟ้าก็คงเหมือนกับที่เพื่อนสมาชิกได้อธิบาย ไว้ คือ จะมีปุ่มกดบริเวณด้านขวาของแผงข้างหน้าปัทม์ เมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีไฟสีแดงสว่างขึ้นบนหน้าปัทม์ เพื่อแสดงว่าเบรคไฟฟ้ากำลังทำงานและเมื่อโยกก้านบังค ับเบรคไฟฟ้า (ก้านหลังพวงมาลัยด้านขวา) ระบบเบรคไฟฟ้าก็จะทำงาน ถ้าจำไม่ผิดมีประมาณ 4 จังหวะครับ ถามว่าเบรคไฟฟ้าจำเป็นสำหรับรถทุกคันหรือเปล่าครับ ในความคิดส่วนตัวของผม อย่างน้อยผมขอให้เป็นมาตรฐานของรถทุกคันที่วิ่งขึ้นล งบนเขาครับ จะเป็นประโยชน์อย่างมาก ถ้ามีสำหรับรถที่วิ่งทางเรียบด้วยก็จะดียิ่งขึ้นครับ เพิ่มเติมนิดหน่อยครับ หากเป็นเบรคไฟฟ้าในรุ่น Oh 1628 หากเปิดทิ้งไว้โดยไม่สตาร์ทเครื่องแบตเตอร์รี่อาจหมด ได้ครับ (กินไฟมากๆ) |
#10
|
|||
|
|||
![]() 2. ระบบล็อคความเร็วอัตโนมัติ ตอนแรกผมเข้าใจว่าจะมีในเฉพาะรถที่เป็นเกียร์อัตโนมั ติเท่านั้น ถึงแม้ Benz Ibc 2036 รุ่นนี้จะเป็นเกียร์ธรรมดา แต่ใช้คันเร่งไฟฟ้า จึงมีระบบนี้ด้วยครับ พขร.ท่านนี้บอกว่า โดยส่วนมากก็ไม่ค่อยได้ใช้ครับ เพราะใช้แล้วเปลืองน้ำมันพอสมควร เพราะระบบจะต้องคอยเลี้ยงรอบเครื่องยนต์ไว้ให้คงที่ต ลอดเวลา ทางตรงยาวๆ ก็ไม่ค่อยมีให้วิ่ง เหยียบคันเร่งเองสบายใจกว่าครับ
3. ระบบเกียร์เป็นแบบ 6 เกียร์เดินหน้า 1 เกียร์ถอยหลัง พขร.ส่วนมากออกตัวที่เกียร์ 2 ครับ เนื่องจากเกียร์ 1 รอบมันจัดเกินไป เหยียบคันเร่งนิดเดียวก็หมดรอบแล้ว (ผมเคยอ่านจากหนังสือ บอกว่า การขับรถที่ถูกต้อง ต้องออกตัวที่เกียร์ 1 ทุกครั้งแล้วไล่เกียร์ไปจนหมดทีละเกียร์ จะทำให้ไม่เปลืองน้ำมันและคลัทช์ครับ ก็เลยไม่รู้ว่าอย่างไหนจะถูกต้องกว่ากัน) ระบบเกียร์เป็นแบบสายสลิงผสมกับระบบไฟฟ้าครับ อย่างที่สมาชิกท่านหนึ่งได้ถ่ายรูปที่คันเกียร์แล้วเ ห็นที่ใต้คันเกียร์เป็นสายสลิงนั้นถูกต้องครับ คือ ตั้งแต่บริเวณคันเกียร์จนไปถึงบริเวณท้ายรถจะใช้เป็น ระบบสายสลิง ด้านปลายสายสลิงบริเวณท้ายรถนั้น จะมีระบบไฟฟ้าที่จะคอยส่งข้อมูลไปยังระบบไฟฟ้าของห้อ งเกียร์อีกทีหนึ่งครับ (พขร.ท่านบอกมาอย่างนี้) 4. แน่นอนครับ ระบบช่วงล่างเป็นถุงลมนอกแนวคลัทซี (เขาควาย) แต่ที่ล้อคู่หลังสุด (ไม่รู้ว่าเขาเรียกว่าล้ออะไร ขอเรียกว่า ล้อ 7 ล้อ 8 แล้วกัน) ไม่มีระบบผ่อนลมในถุงลมที่ช่วยในการเลี้ยวในที่แคบเห มือนตัว VOLVO B12B นะครับ (ไม่รู้ว่า SCANIA มีระบบนี้เหมือนตัว VOLVO B12B หรือเปล่า) และล้อนี้ก็ไม่ได้เลี้ยวตามล้อคู่หน้าเหมือนในรถนอก จึงทำให้ล้อ 7 ล้อ 8 ดอกยางมักจะหมดก่อนล้ออื่นๆ จึงใช้วิธีการถ้าได้ยางใหม่มาให้เอามาใส่ล้อคู่หน้าก ่อน แล้วนำล้อคู่หน้าที่ดอกยางยังพอเหลือมาใล่ล้อ 7 ล้อ 8 ครับ 5. Benz Ibc 2036 รุ่นนี้ 360 แรงม้า ทำเป็นรถ 2 ชั้น ในทางตรงกันข้าม 360 แรงม้าที่เท่ากันใน Benz Ibc 1636 กลับทำเป็นรถชั้นเดียว รถสองชั้นจึงไม่ประหยัดเท่าที่ควรจะเป็น อย่างน้อย พขร.บอกว่า แรงม้าที่จะทำรถสองชั้นอย่างน้อยก็ต้อง 400 แรงขึ้นครับ หมายเหตุ บขส.ให้น้ำมันกับรถรุ่นนี้ 4 กม./ลิตร โดยวัดระยะทางของรถแต่ละสายไม่คำนึงว่าจะวิ่งบนเขาหร ือทางราบให้น้ำมันเหมือนกันหมดครับ (วัดตามตารางตัวเลขนะครับ ไม่ใช่วัดจากระยะทางที่ใช้งานจริง ซึ่งจะต้องคำนวณการจอดรถติดแอร์รอผู้โดยสารที่บริเวณ สถานี การต้องเข้าไปบริเวณสถานีขนส่งย่อยต่างๆ ซึ่งต้องใช้ระยะทางและน้ำมันเหมือนกัน) ดังนั้น จึงไม่ต้องแปลกใจครับ ถ้ารถ บขส.รุ่นนี้ จะวิ่งไม่เกิน90 กม./ชม. ซึ่งอาจจะเป็นระดับที่ประหยัดน้ำมันที่สุด และการปล่อยเกียร์ว่างลงเขา ซึ่งอาจจะไหลได้ไกลถึง 5-10 กิโลก็เป็นได้ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ช่วยประหยัดน้ ำมันได้ครับ ข้อมูลทั้งหมดนี้ ส่วนหนึ่งจากประสบการณ์ที่ได้พูดคุยกับ พขร. และส่วนหนึ่งก็จากความรู้ที่ผมพอมีอยู่บ้างกับข้อคิด เห็นส่วนตัวครับ หากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ |
![]() |
|
|