Loading
Search In RotTourThai.com


กลับไป   Forums > RotTourThai.com > คลังความรู้เกี่ยวกับรถทัวร์ไทย
คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน กระทู้ใหม่วันนี้

ตอบกลับ
 
คำสั่งเพิ่มเติม ค้นหาในหัวข้อนี้ เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 04-09-2010, 09:00 PM
รูปส่วนตัว ช้อปเปอร์476
ช้อปเปอร์476 ช้อปเปอร์476 is offline
NETWORK - RTT
 
วันที่สมัคร: Nov 2009
กระทู้: 1,363
มาตรฐาน

อ้างถึง:
กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ สายแข็งตะวันออก1 อ่านกระทู้
เข้าใจผิดแล้วครับตี๋เล็กที่บอกเบอร์รถอ่ะซ้ำกันได้แ ต่ต้องคนละมาตรฐานอย่างม.4คสาย100จะมีแค่สองบริษัท(จากเดิมมีแค่บริษัทเดียว)คือวินทัวร์กับบขส.ซึ่งบขส.นั้นม.4คจะใช้เลข100-xxxxซึ่งเป็นเลข4ตัวไม่ใช่ตัวเดียวเหมือนวินทัวร์แน่นอนค รับ....บขส.ม.4คสาย100มาใหม่สองคันครับคือ100-1719กับ100-xxxxครับไม่มี100-1แน่นอน


ส่วนหมายเลขสายรถนั้นรอฟังจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ค รับ
อ๋อๆ...ว.8รับทราบครับ
__________________
รถทัวร์ไทยสายตะวันออก((บางละมุง))
ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 04-12-2010, 08:39 PM
panorama747 panorama747 is offline
Member
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
กระทู้: 84
มาตรฐาน

นั้นนะซิ บขส เขามีหลักเกณฑ์อย่างไรกันแน่ แต่เท่าที่สังเกต เฉพาะกับสาย 1-100 เขาจะไล่เส้นทางภาคเหนือภาคกลางก่อน แล้วมาเริ่มสายอีสาน ที่ 20 พอหมดสายอีสานก็ไปตะวันออก ตามด้วยจังหวัดรอบๆกทม ทั้งทิศตะวันออกและตะวันตก หลังจากนั้นจะเริ่มไล่ลงไปทางใต้ แต่ก็มั่วกันอยู่ดีช่วงปลายๆ เพราะสาย 100 เป็นทางภาคเหนือ พอหมด 1-100 รถหมวด2 จะเริ่มใหม่โดยมีเลข 9 นำหน้า โดยเริ่มต้นด้วยเส้นทางภาคกลาง แต่ก็มั่วในที่สุด ทั้งสายตะวันออกและเหนือ แล้วค่อยไปเริ่มเรียงที่สายอีสานอีกที หลังจากหมดสายอีสานก็จะกลับมามั่วอีกที 949 950 951

พอหมดเส้นทาง 3 หลัก ก็จะมี 9 มาเพิ่มอีกเป็นเส้นทางที่มี 4 หลัก นับจากนี้ผมเข้าใจว่าเขาไล่ตามลำดับ ตามเส้นทางที่ขอเปิดใหม่ ไม่ได้ขึ้นกับภูมิภาค


ส่วนหมายเลขในแต่ละมาตรฐาน โดยส่วยใหญ่จะแยกกันรัน ยกเว้น ม.1ข ม.1พ จะรันผสมกันไป พักหลังมีแต่รถ ม.4 ออกมาวิ่ง ซึ่งจะรันแยกกันไปในแต่ละมาตรฐาน ยกเว้นสาย 14 จะยังหลงเหลือ รถสองชั้นรุ่นคุณปู่ ใช้เบอร์ร่วมกับรถ ม.1ข อยู่

แต่พักหลังผมเริ่มสงสัยอีกแล้วว่า ทำไมมีกันรันเบอร์รถคนละมาตรฐานต่อเนื่องกัน คือรถ ม.4พ 20-50 - 20-53 ของสมบัติที่ไปใช้เบอร์ต่อกับ ม.4ข งง ครับเพราะจังหวัดอื่นๆแยกกันรันหมด

อีกย่างที่ผมสงสัยครับ คือรถมาตรฐานผสม เขาจะหลักเกณฑ์รันเลขรถตามมาตรฐานไหนกันแน่ เช่น สมมติว่า มีรถผสม ม.4ก-ข เบอร์รถคันนี้จะมีหลักเกณฑ์ไปรันกับเบอร์มาตรฐานอะไร โดยในปัจจุบันเท่าที่เห็น ไม่ว่ามาตรฐาน ข จะไปผสมกับมาตรฐานอะไร รถคันนั้นจะไปใช้เบอร์ มาตรฐาน ข ทั้งหมด แค่สงสัย ครับ

ส่วนกันรันหมายเลขรถของ บขส เขาจะรันเบอร์ของเขาเอง ไม่เกี่ยวกับรถเอกชนเลย และการรันก็ไม่ได้เรียงตามสายหรือมาตรฐานรถ แต่อย่างใด รถทุกคันของ บขส จะมีหมายเลขประจำคันอยู่แล้ว ปกติรถมาตรฐานเดียวกันจะมีการรันต่อเนื่องกัน ขึ้นอยู่ว่าจะนำไปวิ่งสายไหน ก็จำนำหมายเลขเส้นทางมาแปะไว้หน้าเบอร์ประจำรถ เช่น รถคันหมายเลข 2012 เมื่อนำไปวิ่งสายเชียงใหม่ ก็จะได้หมายเลข 18-2012 หากมีการเปลี่ยนแปลงนำรถคันนี้ไปวิ่งเส้นทางอื่นเช่น หนองคาย รถคันเดิมนี้ก็จะเมีหมายเลขปลี่ยนเป็น 23-2012
ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 04-12-2010, 09:31 PM
รูปส่วนตัว Phong
Phong Phong is offline
R.T.T Web Registered
 
วันที่สมัคร: Jun 2008
กระทู้: 491
มาตรฐาน

ผมลองตั้งข้อสังเกตเล่นๆ นะครับ

ผมเคยอ่านหนังสือเก่าๆ เล่มหนึ่ง เขาบอกว่า สมัยก่อนมีรถโดยสารวิ่งจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ชื่อว่าบริษัท ดาวเหนือ จำกัด วิ่งสายนี้

สาย 1 ที่โชครุ่งทวีวิ่งอยู่ อาจจะเป็นที่มาของสาย 1 นี้ก็ได้ครับ แล้วมีการปรับแก้รายละเอียดเส้นทางในภายหลัง ต้องไปดูที่ราชกิจจานุเบกษาแล้วหละครับ

ถนนหนทางในประเทศไทย สมัยก่อนสัดส่วนเริ่มหายใจรดต้นคอกับทางรถไฟช่วงสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกฯ

ไปสายเหนือทีในสมัยก่อน เราก็ทราบกันดีว่า อ้อมโลกไปกับเส้นพหลโยธิน ด้วยเหตุผลของการก่อสร้างถนนพหลโยธินก็คือ ไม่ต้องเปลืองงบสร้างสะพานจำนวนมาก

แล้วไล่เลี่ยมาสาย 2 ลำปาง สาย 3 เชียงแสน ก็ว่ากันไป ตามที่ราชกิจจานุเบกษาแต่ละยุคเอื้ออำนวย

การกำหนดสายรถทัวร์ ก็ต้องเป็นไปตามถนนที่มีอยู่ในแต่ละยุค

แผนที่ทางหลวงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ที่ให้มีการตัดถนน ปรับปรุงถนนสายหลักทั่วประเทศ ซึ่งมีถนนมิตรภาพที่สหรัฐสร้างให้ด้วย

สายอีสานนั้น พอมีถนนมิตรภาพ ก็เป็นไปได้นะครับ ที่รถสายพวกนี้เกิดขึ้นมาเมื่อถนนมิตรภาพตัดเรียบร้อ ยแล้ว

จนเกิดสายขอนแก่น โคราช อุดร หนองคาย ตามลำดับ

ลืมไป แผนที่ทางหลวงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ถนนแจ้งสนิทก็มีแล้ว ทำให้มีสายร้อยเอ็ด อุบลสายเก่าขึ้นมา

และสายขึ้นภูพาน(213) เป็นทางลาดยางแล้วนา ก็มีสายนครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์แล้ว

ส่วนสายชัยภูมิ เมืองเลย ก็เป็นไปได้ว่าถนนเส้น 201 ก็มีการตัดถนนมานานแล้วเช่นกัน (สายหนองบัวลำภูด้วย)

ส่วนสายนายก ปราจีน อรัญฯ ผมคิดว่าสมัยก่อน ถนนรังสิต องครักษ์ยังไม่ตัด เวลาจะเข้าไปสามเมืองนี้ ก็ต้องเข้าเส้นพหลฯ เลี้ยวขวาที่หินกองไปตามถนนสุวรรณศร(33) ซึ่งเป็นสายเก่า และไกล เป็นถนนสายหลักสายเดียว ที่สามารถไปยังชายแดนไทย กัมพูชาได้ ในตอนนั้น

สายใต้เนี่ย ผมว่าน่าสังเกตง่ายที่สุดครับ

เลขรันจากสาย 61 บ้านเขาต่อ-พังงา ร่ายยาวมาจนถึงสาย 89

ผมตั้งข้อสังเกตอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับการเดินทางรถทัวร์สายใต้ในสมัยก่อน ก่อนที่สายเลขสามหลักเกิดขึ้น

สมัยนั้นสายเอเชีย(41) ยังไม่มี มีเส้นเพชรเกษมเป็นสายหลัก

สาย 62 ตามความเข้าใจของผมก็คงเข้าระนองก่อน(มั้ง) แล้ววิ่งตามเส้น 401 เข้าสุราษฎร์ ขนอม

สาย 63 ก็ต้องผ่านระนองอยู่แล้ว ผมเกิดความสงสัยว่า ยุคก่อนโน้น เกาะภูเก็ตเป็นแหล่งต่อรถไปจังหวัดอื่นของภาคใต้หรือ เปล่า เพราะรถหมวด 3 สายใต้ มักจะเริ่มต้นที่ภูเก็ต แล้วไปยังหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ล่างลงไปจากภูเก็ตมากมาย และเส้นทางบางส่วนก็เป็นของ บขส. ด้วย (ผมคิดอย่างนี้นะ ผิดถูกยังไง รอข้อเท็จจริง หรือเจ้าถิ่นมาเล่าอีกที)

แล้วสังเกตดีๆ ว่า สายใต้เนี่ย เส้นทางมันเหมือนรันจังหวัด อำเภอจากล่างสุดมาบนสุดเลย

64 ระนอง วิ่งตามเพชรเกษม

65 66 67 ประจวบ ข้ามมาสาย 68 วิ่งถึงแค่บางเลนนะครับ สมัยก่อน แล้วมาบางลี่ 69 ไปดอนเจดีย์(ตอนนี้ไปด่านช้าง)

70 ก็มาปราณบุรีอีกครั้ง 71 หัวหิน 72 ท่ายาง 73 เพชรบุรี 74 บ้านแหลม 75 ปากท่อ ลองรันไปเรื่อยๆ จนถึงสาย 78 แล้ว 79 เป็นของสายอีสาน 80 บางลี่ รันๆๆ มาเรื่อยๆ จนถึงสาย 85 สมุทรสาคร
87 ตลาดท่าช้าง 88 สุพรรณ อ้อ...ถนนมาลัยแมน(321)แล้วเสร็จตอนปี 2509

มาเลขหลัก 9 ก็เรียงแบบภาคใต้เลยนะ แต่เป็นจากบนลงล่าง เรียงสายตากเส้นพหลโยธินเด๊ะ

90 เชียงราย ลำปาง เขื่อนภูมิพล ผมกำลังสงสัยอยู่ว่า สาย 92 นี้เนี่ย มีมาเมื่อตอนสร้างเขื่อนภูมิพลหรือเปล่า เพราะการสร้างเขื่อนภูมิพลต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ต้องมีรถ บขส. เข้าไปรับคน (อ่านสัมภาษณ์ถาวรฟาร์ม เลยนึกขึ้นมาได้)

แล้วมาตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ น่าน สุดแค่นั้นส่วน 97 ก็วิ่งตามทางที่เคยมีอยู่แล้วนั่นคือถนนมิตรภาพกับถน นนิตโยไปถึงพังโคน

นี่เลขสายที่ผมตั้งข้อสังเกตเอาเองนะครับ

ผมคิดว่าการคิดสายรถ ก็ต้องมีถนนเกิดขึ้นก่อน ถ้ามีรถไปถึง แล้วคนนิยมก็เปิดสายใหม่ บางทีก็ขยายเส้นทางไปเรื่อยเปื่อย เพื่อสอดคล้องกับประชากร ความต้องการที่เพิ่มขึ้น

ถนนตัดใหม่ที รถทัวร์สายใหม่เกิดอย่างน้อยสักสาย ถ้าสายเก่าคนขึ้นน้อยก็ลดจำนวนเที่ยวลง ถ้าคนไม่นิยมก็เลิกไปเลย

จึงไม่แปลก ที่จะมีรถทัวร์สายเก่าๆ บางสาย ยกเลิกการวิ่งเพราะคนไม่นิยม เพราะสายเก่ามันทั้งไกล และแพงด้วยครับ

ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 04-13-2010, 09:08 AM
รูปส่วนตัว Namayday
Namayday Namayday is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Nov 2008
กระทู้: 1,236
มาตรฐาน

ขอบคุณน้องพงษ์ สำหรับความรู้ที่มอบให้พวกเราเสมอมา กับคลังความรู้เกี่ยวกับรถทัวร์ไทยที่น้องพงษ์เป็นผู ้บุกเบิกมา

ผมขออนุญาตขยายความต่อจากน้องพงษ์นะครับ ถือเป็นการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง เพื่อให้ได้องค์ความรู้สูงสุดแก่สมาชิก หากมีข้อมูลใดที่ผิดไปบ้าง ขอได้โปรดช่วยกันทักท้วงด้วยครับ

ผมจำได้ว่า ในสมัยก่อนหมายเลขเส้นทางถูกกำหนดขึ้นจากทิศทางครับ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออก หลักเกณฑ์การแบ่งนั้น เขาใช้ถนนเป็นตัวแบ่งครับ ถนนที่ว่าก็คือทางหลวงแผนดินสายหลักนั่นเอง เริ่มจากสาย1 พหลโยธินที่มีทิศทางไปทางภาคเหนือ สาย2 ถนนมิตรภาพ มีทิศทางไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ สาย3 ถนนสุขุมวิท มีทิศทางไปทางภาคตะวันออก และสาย4 ถนนเพชรเกษม ที่มุ่งลงสู่ภาคใต้ ทางหลวงสายหลักในประเทศไทยมีเพียง 4 สายเท่านั้นนะครับ ดังจะได้กล่าวต่อไปว่า เราไม่มีทางหลวงสาย5 หรือ สาย6 แต่อย่างใด

สมัยเด็กๆ ตอนที่ผมเรียนหนังสือ มีวิชาหนึ่ง(วิชาอะไรจำไม่ได้)ที่ครูสอนเรื่องนี้แหล ะ เรื่องถนนสายหลัก 4 สายนี้ ผมจำได้แม่นยำ จำได้จนถึงทุกวันนี้ และต่อมาผมก็เชื่อว่า การกำหนดเส้นทางใช้หลักเกณฑ์หมายเลขทางหลวงสายหลักนี ่แหละเป็นตัวกำหนดครับ

ผมขอเริ่มจากเลขตัวเดียวก่อนนะครับ เอาจากเลข 1 ไปเลย เลข 1 บ่งบอกถึงถนนพหลโยธินครับ สมัยก่อนถนนสาย32 (สายเอเซีย)ยังไม่มี การจะเดินทางขึ้นเหนือก็ใช้เส้นทางนี้แหละครับ สายเก่าแก่ ถนนพหลโยธิน ขึ้นไปทางสระบุรี ลพบุรี ตาคลี นครสวรรค์.....เป็นที่มาของสาย 1 เชียงใหม่ ที่ตอนนี้โชครุ่งทวีได้สัมปทาน...สมัยก่อนนี้ถาวรฟาร ์มเขาวิ่งมาก่อนครับ รถสาย1 ของถาวรฟาร์ม อิอิ

ตามด้วยสาย2 3 5 6 8 และ 9 (สาย 4 สาย5 และสาย 7 จะขอกล่าวในภายหลัง) เห็นได้ว่าสายเหล่านี้เป็นเลขตัวเดียว วิ่งอยู่ในเส้นทางภาคเหนือ รวมทั้งภาคกลางขึ้นไปทางทิศเหนือ

ตามด้วยเลขสองหลักที่ขึ้นต้นด้วย 1x คือ 10 11 12 13 14 15 16 17 18 และ 19 ที่ยังยืนยันหลักเกณฑ์ได้ว่า เส้นทางที่ขึ้นต้นด้วยเลข 1 เป็นเส้นทางสายเหนือและภาคกลางขึ้นไปทิศทางเหนือ

สำหรับที่เป็นส่วนเกิน หรือไส้ติ่งอักเสบ คือ สาย 4 5 และ 7 ที่ปัจจุบันกลายเป็นเบอร์ของเส้นทางสายกันทรลักษณ์-หนองบัวลำภู-ช่องเม็ก นั้น ผมก็ยังยืนยันว่าเดิมเบอร์เหล่านี้เป็นเบอร์ของสายเห นือมาก่อนทั้งสิ้น ไม่รู้ว่าไปทำอีท่าไหนถึงได้กลายเป็นอย่างนี้ไปได้.. .ทำให้หลักที่ผมวางไว้เสื่อมหมดเลย

ต่อมาก็เลขสองหลัก ที่ขึ้นต้นด้วยเลขสอง 2x ก็ร่ายมาตั้งแต่ 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 ขุนพลสายอิสานเหล่านี้ ปราศจากข้อกังขาใดๆว่า ถ้าขึ้นต้นด้วยเลข2 แล้ว อิสานแน่ๆ 100% อันนี้ให้ไปเคลียร์ที่ไหนก็ได้ เคลียร์ไหวทุกที่....ไหวจะเคลียร์

ต่อมาก็เป็นไส้ติ่งอักเสบอีกแล้ว สำหรับสาย 30 31 32 33 34 ขุนพลสายอิสานที่ไปขโมยซีนสายตะวันออกมาซะงั้น...เดี ๋ยวจะได้หาคำอธิบายกันต่อไป

มาถึงสายที่ขึ้นต้นด้วยเลขสาม 3x ขอเริ่มที่ 35 36 37 38 39 ขุนพลสายตะวันออกรุ่นบุกเบิกเหล่านี้ยังคงยึดหลักเกณ ฑ์ความเป็นถนนสายหลักของถนนสุขุมวิทไว้ได้อย่างเหนีย วแน่น แต่ไม่สามารถเหนี่ยวรั้งเอาเบอร์ 30-34 ไว้ได้ ท่านเชื่อมั๊ยครับว่า แต่ก่อนเบอร์ 33 กับ 34 เป็นเบอร์ของรถสายจันทบุรีและตราดครับ ก่อนจะถูกสายกระนวน-บ้านแพง-สหัสขันธ์ แย่งเอาเบอร์ไปหน้าตาเฉย นี่ยังไม่นับเบอร์ 30 31 32 ที่ถูกสายอิสานแย่งไปก่อนหน้านี้อย่างไม่มีหลักมีเกณ ฑ์ ผมหละไม่ไหวจะเคลียร์จริงๆเรื่องนี้...

สายที่ขึ้นต้นด้วยเลขสี่ 4x ที่โดยเกณฑ์แล้วต้องเป็นเบอร์สายใต้แหงๆ กลับไม่เป็นเช่นนั้น อันนี้ก็ไม่ไหวจะเคลียร์เหมือนกันครับ...40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 เบอร์เหล่านี้ล้วนเป็นเบอร์ของขุนพลสายตะวันออกเลียบ ชายฝั่งทะเลที่มีต้นทางอยู่ที่เอกมัย ฉีกกฎเกณฑ์ของผมขาดกระจุยครับ สุขุมวิทมาแย่งเบอร์เพชรเกษมไปหน้าตาเฉย...ไม่ไหวจะเ คลียร์ครับ

ผมไม่ขอกล่าวถึงเลขที่ขึ้นต้นด้วย 5x นะครับ...ขอข้ามไป เพราะในประเทศไทยไม่มีถนนทางหลวงที่ขึ้นต้นด้วยเลข5. ..พวกเบอร์ 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 และ 60 เหล่านี้ ถูกกำหนดขึ้นตามอำเภอใจ จะพูดว่าา จับยัด ก็ได้มั๊งครับ

อยากจะพูดถึงเบอร์ 6x มากเลย เพราะเป็นเบอร์สายใต้ที่ผมเห็นว่าเลขมันสวยดีครับ เบอร์ 61 62 63 64 65 66 67 มันคือเบอร์รถสายใต้ วิ่งลงใต้ ผมอนุโลมนะครับ สำหรับเบอร์ 68 กับเบอร์ 69 ที่มีปลายทางอยู่ทางภาคกลางตอนล่างหรือตะวันตก รวมทั้ง สาย 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 87 88 89 พออนุโลมได้ว่ารถอออกจากสถานีขนส่งสายใต้...พอเข้าใจ
แต่ที่ไม่เข้าใจคือ การเอาเลข 6 นำหน้ารถสายใต้รุ่นบุกเบิกนี่แหละ ทำไมไม่เป็นเลข 4 ก็ไม่ทราบเหมือนกัน ไม่ไหวจะเคลียร์จริงๆครับ

แล้วท่านสังเกตุกันไหมครับว่า เหตุใดเบอร์ 86 สายธาตุพนม จึงได้บินเดี่ยวกระโดดไปอยู่สายอิสาน แบบแตกเหล่าแตกกอ มันมีกฎมีเกณฑ์อะไรยังไงหรือครับ...

จากนั้นก็มาถึงเบอร์ 9x เริ่มจาก 90 91 92 93 94 95 96 97 และ 98 เริ่มต้นก็พอจะเข้าใจว่า เบอร์รถสายเหนือที่ขึ้นต้นด้วยเลข1 มันอัดกันจนเต็มแล้ว ไม่รู้จะหาเบอร์อะไร ก็มาเอาเบอร์9x นี่แหละ มันก็ดูดีมีเหตุผล แต่ก็ยังตอบคำถามเรื่องทิศทางไม่ได้ ผมก็พยายามทำใจยอมรับมันว่า
ไอ้สาย9x มันไปทางเหนือ ไปทางเหนือคือ เชียงราย-ลำปาง-เขื่อนภูมิพล-ตาก-กำแพงเพชร-น่าน ไล่เรียงกันไป แต่พอนับไปนับมา แล้วไอ้เบอร์ 97(พังโคน) กับเบอร์98(อุบลสายใหม่) มันเหนือยังไงหว่า...ยิ่งนับวันผมยิ่งงงมากขึ้น...

เพื่อเป็นการยืนยันว่า หลักการหรือกฏเกณฑ์ที่ใช้กำหนดหมายเลขเส้นทางขึ้นอยู ่กับหมายเลขทางหลวงสายหลัก ผมสังเกตุว่า รถหมวด3 ที่วิ่งเชื่อมระหว่างจังหวัดในภาคเดียวกันจะคงเลขทาง หลวงไว้ข้างหน้า เช่น 1xx ,2xx, 3xx หรือ 4xx เช่น 112 (เชียงใหม่-นครสวรรค์) เป็นต้น ต้องขออภัยที่ผมจำเส้นทางของรถหมวด3 ไม่ได้จริงๆ แต่ท่านไปดูเถอะครับว่า หมายเลขเส้นทางถูกกำหนดขึ้นตามนั้นจริงๆ
__________________
สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร


new scannia opticriuse
รถทัวร์ไทยสายแข็งโป๊กปทุม1
ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 04-14-2010, 10:14 AM
รูปส่วนตัว rapipat
rapipat rapipat is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Aug 2008
กระทู้: 3,041
มาตรฐาน

นั้นและครับ ผมก็ไม่เข้าใจในการจัดของ บขส.เหมือนกัน สงสัยว่าถ้าสายไหนว่างจะจับยัดเลยมั่งครับ
__________________
"บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย ฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดก็ดี โดยแต่งตั้งก็ดี โดยประการอื่นใดก็ดี ไม่กระทำให้เกิดเอกสิทธิ์อย่างใดเลย" (รัฐธรรมนูญไทยแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๔๙๒)
ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 04-14-2010, 11:02 PM
รูปส่วนตัว Phong
Phong Phong is offline
R.T.T Web Registered
 
วันที่สมัคร: Jun 2008
กระทู้: 491
มาตรฐาน

ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งฉบับที่ 2 พ.ศ.2507
เรื่องกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งรถโดยสารประจำทางด้ วยรถยนต์โดยสารระหว่างจังหวัด (เฉพาะเริ่มต้นจากจังหวัดพระนคร)

ภาคเหนือและภาคกลางตอนบน

1. กรุงเทพฯ – เชียงใหม่
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก อ.เถิน แยกซ้ายทางหลวงหมายเลข 3 อ.ลี้ อ.บ้านโฮ่ง อ.ป่าซาง ลำพูน สถานีขนส่งจังหวัดเชียงใหม่

2. กรุงเทพฯ – ลำปาง
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก อ.เถิน อ.สบปราบ สถานีขนส่งจังหวัดลำปาง

3. กรุงเทพฯ – เขื่อนภูมิพล
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 570.491 แยกซ้ายไปตามทางหลวงสายเขื่อนภูมิพล อ.สามเงา เขื่อนภูมิพล

4. กรุงเทพฯ – ตาก
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร สถานีขนส่งจังหวัดตาก

5. กรุงเทพฯ – กำแพงเพชร
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ สถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร

6. กรุงเทพฯ – สุโขทัย
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 16 (ถ.จรดวิถีถ่อง) อ.บ้านด่านลานหอย สถานีขนส่งจังหวัดสุโขทัย

7. กรุงเทพฯ – นครสวรรค์
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท สถานีขนส่งจังหวัดนครสวรรค์

8. กรุงเทพฯ – อุทัยธานี
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท จนถึง อ.มโนรมย์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงสายมโนรมย์ – อุทัยธานี สถานีขนส่งจังหวัดอุทัยธานี

9. กรุงเทพฯ – ลำนารายณ์
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี อ.โคกสำโรง แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 10 (ถ.สุระนารายณ์) จนถึง อ.ชัยบาดาล แล้วแยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 17 (ถ.คชเสนีย์) บ้านลำนารายณ์

10. กรุงเทพฯ – หล่มสัก
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี อ.โคกสำโรง แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 10 (ถ.สุระนารายณ์) จนถึง อ.ชัยบาดาล แล้วแยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 17 (ถ.คชเสนีย์) อ.วิเชียรบุรี วังชมภู เพชรบูรณ์ อ.หล่มสัก

11. กรุงเทพฯ – สิงห์บุรี
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี ลพบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 605 สถานีขนส่งจังหวัดสิงห์บุรี

12. กรุงเทพฯ – ลพบุรี
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี สถานีขนส่งจังหวัดลพบุรี

13. กรุงเทพฯ – พระพุทธบาท
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี อ.พระพุทธบาท

14. กรุงเทพฯ – สระบุรี
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สถานีขนส่งจังหวัดสระบุรี

15. กรุงเทพน – อ่างทอง
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 605 อยุธยา สถานีขนส่งจังหวัดอ่างทอง

16. กรุงเทพฯ – บางปะอิน
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 52 แยกซ้ายไปตามทางหลวงสายบางปะอิน (ถ.อุดมสรยุทธ) อ.บางปะอิน
ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 04-14-2010, 11:13 PM
รูปส่วนตัว Phong
Phong Phong is offline
R.T.T Web Registered
 
วันที่สมัคร: Jun 2008
กระทู้: 491
มาตรฐาน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

21. กรุงเทพฯ – นครราชสีมา
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 21 (ถ.มิตรภาพ) อ.ปากช่อง สถานีขนส่งจังหวัดนครราชสีมา

22. กรุงเทพฯ – อุดรธานี
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 21 (ถ.มิตรภาพ) อ.ปากช่อง นครราชสีมา บ้านตลาดแค อ.พล อ.บ้านไผ่ ขอนแก่น อ.น้ำพอง สถานีขนส่งจังหวัดอุดรธานี

23. กรุงเทพฯ – หนองคาย
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 21 (ถ.มิตรภาพ) อ.ปากช่อง นครราชสีมา บ้านตลาดแค อ.พล อ.บ้านไผ่ ขอนแก่น อ.น้ำพอง อุดรธานี สถานีขนส่งจังหวัดหนองคาย

24. กรุงเทพฯ – ร้อยเอ็ด
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 21 (ถ.มิตรภาพ) อ.ปากช่อง นครราชสีมา บ้านตลาดแค อ.พล อ.บ้านไผ่ แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 16 (ถ.แจ้งสนิท) มหาสารคาม สถานีขนส่งจังหวัดร้อยเอ็ด

25. กรุงเทพฯ – อุบลราชธานี
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 21 (ถ.มิตรภาพ) อ.ปากช่อง นครราชสีมา บ้านตลาดแค อ.พล อ.บ้านไผ่ แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 16 (ถ.แจ้งสนิท) มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สถานีขนส่งจังหวัดอุบลราชธานี

26. กรุงเทพฯ – นครพนม
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 21 (ถ.มิตรภาพ) อ.ปากช่อง นครราชสีมา บ้านตลาดแค อ.พล อ.บ้านไผ่ แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 16 (ถ.แจ้งสนิท) มหาสารคาม แล้วแยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 25 (ถ.ถีนานนท์) กาฬสินธุ์ สกลนคร แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 18 (ถ.นิตตะโย) สถานีขนส่งจังหวัดนครพนม

27. กรุงเทพฯ – เลย
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 21 (ถ.มิตรภาพ) อ.ปากช่อง นครราชสีมา บ้านตลาดแค อ.พล อ.บ้านไผ่ ขอนแก่น แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 16 (ถ.มลิวรรณ) อ.ชุมแพ แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 19 (ถ.มลิวรรณ) อ.วังสะพุง สถานีขนส่งจังหวัดเลย

28. กรุงเทพฯ – ชัยภูมิ
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง สระบุรี แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 21 (ถ.มิตรภาพ) อ.ปากช่อง อ.สีคิ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 19 (ถ.มลิวรรณ) อ.หนองบัวโคก อ.จตุรัส สถานีขนส่งจังหวัดชัยภูมิ
ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
  #8  
เก่า 04-14-2010, 11:31 PM
รูปส่วนตัว Phong
Phong Phong is offline
R.T.T Web Registered
 
วันที่สมัคร: Jun 2008
กระทู้: 491
มาตรฐาน

ภาคตะวันออกเลียบชายฝั่ง

41. กรุงเทพฯ – ตราด
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี อ.สัตตหีบ ระยอง จันทบุรี สถานีขนส่งจังหวัดตราด

42. กรุงเทพฯ – จันทบุรี
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี อ.สัตตหีบ ระยอง สถานีขนส่งจังหวัดจันทบุรี

43. กรุงเทพฯ – แกลง
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี อ.สัตตหีบ ระยอง อ.แกลง

44. กรุงเทพฯ – ปากน้ำประแส
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี อ.สัตตหีบ ระยอง อ.แกลง บ้านป่าเตียน(กม.378.0) แยกขวาไปตามทางหลวงจังหวัด ต.ประแส

45. กรุงเทพฯ – บ้านค่าย
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี อ.สัตตหีบ ระยอง จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 220.9 แยกซ้ายไปตามทางหลวงจังหวัดสายระยอง – บ้านค่าย อ.บ้านค่าย

46. กรุงเทพฯ – ระยอง
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี อ.สัตตหีบ สถานีขนส่งจังหวัดระยอง

47. กรุงเทพฯ – สัตตหีบ
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี อ.ศรีราชา อ.สัตตหีบ

48. กรุงเทพฯ – นาเกลือ
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี อ.ศรีราชา ตลาดนาเกลือ(อ.บางละมุง)

49. กรุงเทพฯ – ศรีราชา
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี อ.ศรีราชา

50. กรุงเทพฯ – ชลบุรี
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ สถานีขนส่งจังหวัดชลบุรี

51. กรุงเทพฯ – บ้านบึง
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ 93.8 แยกซ้ายไปตามทางหลวงจังหวัดสายชลบุรี - บ้านบึง อ.บ้านบึง

52. กรุงเทพฯ – พนัสนิคม
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ ชลบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 19 อ.พนัสนิคม

53. กรุงเทพฯ – ฉะเชิงเทรา(ก)
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ สามแยกบางปะกง แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 106 สถานีขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรา

54. กรุงเทพฯ – ฉะเชิงเทรา(ข)
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.พหลโยธิน) อ.บางเขน แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 505 (ถ.สุวินทวงศ์) อ.หนองจอก สถานีขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรา

55. กรุงเทพฯ – บางคล้า
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ สามแยกบางปะกง แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 106 ฉะเชิงเทรา อ.บางคล้า

56. กรุงเทพฯ – พนมสารคาม
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 6 (ถ.สุขุมวิทย์) สมุทรปราการ สามแยกบางปะกง แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 106 ฉะเชิงเทรา อ.พนมสารคาม

57. กรุงเทพฯ – บ้านนา
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 8 (ถ.สุวรรณศร) อ.หนองหมู อ.บ้านนา

58. กรุงเทพฯ – นครนายก
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 8 (ถ.สุวรรณศร) สถานีขนส่งจังหวัดนครนายก

59. กรุงเทพฯ – ปราจีนบุรี
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 8 (ถ.สุวรรณศร) นครนายก สถานีขนส่งจังหวัดปราจีนบุรี

60. กรุงเทพฯ – อรัญญประเทศ
สถานีขนส่งกรุงเทพฯ ทางหลวงหมายเลข 5 (ถ.พหลโยธิน) อ.บางเขน อ.วังน้อย สี่แยกหินกอง แยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 8 (ถ.สุวรรณศร) นครนายก ปราจีนบุรี อ.สระแก้ว อ.วัฒนานคร อ.อรัญประเทศ
ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
ตอบกลับ



กฎการส่งข้อความ
คุณไม่สามารถเริ่มหัวข้อใหม่ได้
คุณไม่สามารถตอบกระทู้ได้
คุณไม่สามารถแนบไฟล์ได้
คุณไม่สามารถแก้ไขกระทู้ของคุณเองได้

โค้ด vB ใช้ได้
[IMG] โค้ด ใช้ได้
โค้ด HTML ใช้ได้
กระโดดไป


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 09:19 PM


Powered by vBulletin รุ่น 3.6.8 Copyright ©2000-2025, Jelsoft Enterprises Ltd.